สร้างแบรนด์ให้จดจำ ด้วยจิตวิทยาการตลาด

สร้างแบรนด์ให้จดจำ ด้วยจิตวิทยาการตลาด

แนวโน้มการแข่งขันในทุกอุตสาหกรรมสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา ในปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาสร้างแบรนด์ตัวเองกันเยอะมากๆ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดมีส่วนทำให้ตลาดการแข่งขันรุนแรงขึ้น ดังนั้น ยิ่งเราสามารถสร้างอิทธิพลให้กับแบรนด์ได้มากเท่าไหร่ การเข้าถึง และความได้เปรียบก็จะมากกว่าคู่แข่งในตลาดนั่นเอง

เอเจนซี่ที่เชี่ยวชาญในการสร้างแบรนด์ระดับโลก Main & Rose ซึ่งเคยร่วมงานกับหลายแบรนด์ใหญ่มาแล้ว เช่น YouTube และ The United Nations ได้เปิดเผยเคล็ดลับ 3 ข้อหลักๆ ที่มักจะช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างแบรนด์ ซึ่งก็คือ หลักการจิตวิทยาการตลาด โดยมีอยู่ 3 หลักการที่แบรนด์ต้องคำนึงก่อนอันดับแรก

1. Color Theory (ทฤษฎีสี)
หลายๆ คนคงรู้อยู่แล้วว่า หมวดสีแบบไหนเป็นสีร้อน-สีเย็น แต่บางทีธุกิจ หรือแบรนด์ จำเป็นต้องตีโจทย์ให้แตก ว่าเราต้องการสื่อสารแบรนด์ไปยังกลุ่มลูกค้าไหน หรือเราต้องการให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งสีเป็นสิ่งที่ใช้ในการตีความหมายให้กับแบรนด์ได้ดีมาก ไม่ว่าจะเลือกศาสตร์แบบผสมสี หรือคอนทราสต์ที่แตกต่าง

มีผลศึกษาของนักจิตวิทยา ระบุว่า 90% ของผู้บริโภคตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วยสีที่ดึงดูด หลังจากที่มองเพียง 90 วินาที (การพิจารณาแบบใช้สี ในการวิเคราะห์ถึงแบรนด์อย่างเดียว) ดังนั้น การดีไซน์โลโก้สำคัญมากต่อการสร้างแบรนด์ ซึ่งตามหลักจิตวิทยา ทุกสีมีความหมายที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสาร

2. Symbolic Storytelling (ใช้สัญลักษณ์เล่าเรื่อง)
ยกตัวอย่าง จากบริษัทแอปเปิลที่โด่งดังระดับโลกทำไมต้องใช้ #แอปเปิล เป็นโลโก้สัญลักษณ์ของแบรนด์ เพราะมันเกี่ยวกับหลักจิตวิทยาการตลาดในการดีไซน์โลโก้แบรนด์นั่นเอง

แอปเปิลได้ดีไซน์โลโก้จากเดิมที่เป็นภาพวาดลายเส้นของ เซอร์ไอแซก นิวตัน ที่กำลังนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิล จนมาเป็นแอปเปิลที่มีรอยกัดในปัจจุบัน เพื่อสื่อสารว่าผู้ก่อตั้งมองว่าแอปเปิลเป็นผลไม้แห่งปัญญา เพราะไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบทฤษฏีแรงโน้มถ่วงในขณะที่นั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิลแล้วเห็นแอปเปิลร่วงลงมา ก่อนจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ขึ้นมาโดยเรื่องราวทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการสร้างคุณค่าทางธุรกิจ และปรัชญาการทำธุรกิจให้กับแบรนด์แอปเปิล

3. Tell a Story (บอกเล่าเรื่องราว)
อย่างที่ยกตัวย่างเรื่องราวของโลโก้แบรนด์แอปเปิลไปแล้ว นี่คืออีกหนึ่งความสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นกับแบรนด์ได้ เพราะทุกๆ การดีไซน์จำเป็นต้องมีเรื่องราวที่มาที่ไปของการก่อตั้งบริษัทเป็นอย่างน้อย

ทั้งนี้ กฎเหล็กข้อสำคัญของการสร้างแบรนด์ ก็คือ การบอกเล่าเรื่องราวแบรนด์สื่อสารถึงผู้บริโภคได้ ยิ่งในยุคนี้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนรุ่นมิลเลนเนียลส์ พวกเขาให้ความสำคัญกับการได้รับแรงบันดาลใจจากการเล่าเรื่องของแบรนด์ และไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นแบรนด์ใหญ่ที่มีอยู่ในตลาด เพราะทุกแบรนด์สามารถเข้าถึงได้ และพวกเขาพร้อมที่จะ support ทุกแบรนด์ที่สร้างความเชื่อ สร้างแรงบันดาลใจ และสังคมเป็นอันดับแรกๆ

ทั้งหมด 3 หลักการของจิตวิทยาการตลาด เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างแบรนด์ ซึ่งการจดจำที่ส่งไปถึงการทำให้เกิด brand loyalty ได้ ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นมากในการทำธุรกิจยุคนี้