หลักการออกแบบ Packaging & Product ที่ดี

หลักการออกแบบ Packaging & Product ที่ดี

บรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อผู้ผลิต ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่ต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลป์สำหรับใช้แก้ ปัญหา ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และถูกใจผู้บริโภคมากที่สุด เพื่อให้สามารถสู้คู่แข่งทางการค้าในตลาดได้อย่างมีคุณภาพ 


1. สำรวจและทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
หลักการ และขั้นตอนนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SME, OTOP มักพลาด และลืมกันอยู่เป็นประจำ ก็คือการคิดเพียงแค่ว่า ฉันมีสินค้าแล้ว และฉันต้องการจะขายสินค้าของฉัน แต่ลืมมองไปว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ คืออะไร ? สินค้าของเราตอบโจทย์ลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ในตลาดปัจจุบันนี้มีสินค้าที่ตอบโจทย์แก่ลูกค้าเหล่านี้บ้างหรือยัง ? 

หากเราตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน รวมถึง หาความแตกต่างและจุดยืนในตลาด และในมุมมองของลูกค้าได้ ก็จะทำให้เราสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างโดดเด่น ตรงใจลูกค้าได้อย่างแน่นอน

2. องค์ประกอบการออกแบบ
องค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์มีอยู่หลากหลายประเภท ณ จุดขายที่มีสินค้าเป็นร้อยให้เลือก องค์ประกอบต่างๆ ที่ออกแบบไว้บนบรรจุภัณฑ์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ และสินค้านั้น รายละเอียด หรือส่วนประกอบบนบรรจุภัณฑ์จะแสดงออกถึงจิตสำนึกของผู้ผลิตสินค้า และสถานะของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถขยับเป็นสื่อโฆษณาระยะยาวได้ ส่วนประกอบที่สำคัญบนบรรจุภัณฑ์อย่างน้อยที่สุดควรประกอบด้วย
          1. ชื่อสินค้า
          2. ตราสินค้า
          3. สัญลักษณ์ทางการค้า
          4. รายละเอียดของสินค้า
          5. รายละเอียดส่งเสริมการขาย
          6. รูปภาพ
          7. ส่วนประกอบของสินค้า
          8. ปริมาตรหรือปริมาณ
          9. ชื่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย (ถ้ามี)
         10. รายละเอียดตามข้อบังคับของกฎหมาย เช่น วันผลิต วันหมดอายุ เป็นต้น

3. ตราสินค้า
 ตราสินค้า (Brand) และสัญลักษณ์ทางการค้า (Logo) จากที่กล่าวมาแล้วจะพบว่าตราสินค้า เป็นการรวมสิ่งที่มีคุณค่า (Set of Values) ของตัวบรรจุภัณฑ์ไว้ในความทรงจำของกลุ่มเป้าหมาย ตราสินค้าที่ดีจะสื่อให้ทราบถึงกลุ่มบริโภคสินค้าช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้า และความรู้สึกที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ สืบเนื่องจากตราสินค้ามีหน้าที่ทำให้ผู้ซื้อ / กลุ่มเป้าหมาย จำสินค้าได้ โดยมีสัญลักษณ์ทางการค้า และการออกแบบกราฟฟิกผนวกอยู่บนบรรจุภัณฑ์ เราจึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ทางการค้าเป็นส่วนหนึ่งของตราสินค้าที่สำคัญที่สุด

4. การวางแผน
วางแผนได้ 2 วิธี คือ
- ปรับปรุงพัฒนาให้ฉีกแนวแตกต่างจากคู่แข่ง
- ปรับปรุงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันโดยตรงได้ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า การตั้งเป้าหมาย และวางแผนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว ย่อมต้องศึกษาสถานภาพ บรรจุภัณฑ์ ของคู่แข่ง พร้อมกับล่วงรู้ถึงนโยบายของบริษัทตัวเอง และกลยุทธ์การตลาดที่จะแข่งกับคู่แข่งขัน

5. รูปทรงลักษณะบรรจุของบรรจุภัณฑ์
นอกจากความสวยงามแล้ว ควรคำนึงถึงความคงทนในการขนส่ง ภาพลักษณ์ของสินค้า การสร้างความน่าสนใจ ง่ายต่อการใช้งาน มีเอกลักษณ์แต่สามารถใช้งานได้จริง