อยากรู้ว่างานออกแบบของตัวเองดูดีหรือยัง? ต้องอ่านบทความนี้
บางครั้งนักออกแบบก็ไม่สามารถบอกใครต่อใครว่างานของตัวเองนั้นดูดีแล้ว หรือดีอย่างไร ? เนื่องด้วยจากที่ผ่านมา ทั้งฝึกฝน ผสมทักษะของตัวเองเข้าไป เติบโตขึ้นตามทักษะความคิดของแต่ละคน โดยไม่ได้ยึดติดกับหลักการอะไรมากมาย เพราะทำไปด้วยความชำนาญนั้นเอง
วันนี้เราจึงได้ไปหาข้อมูลของหลักการการออกแบบ หรือคุณลักษณะโดยรวม ที่จะสามารถบ่งบอกกับเราได้ว่าผลงานนี้ดีไม่ดีอย่างไร ขาดอะไรไปบ้าง ไปดูกันค่ะว่ามีองค์ประกอบไหนบ้างที่พอจะบอกเราได้
- จุดโฟกัส
จุดที่เด่นที่สุดในภาพก็คือ "จุดโฟกัส" และเป็นสิ่งที่จะถูกมองเป็นอันดับแรก จุดโฟกัสเป็นได้หลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น สีสัน ขนาด รูปทรง ไม่จำเป็นว่าจุดโฟกัสต้องชัด หรือจุดอื่นต้องเบลอ
- ความสมดุล
ความสมดุล หรือ Balance นั้น หากแปลตรงๆ คือการที่สิ่งๆ หนึ่งมีองค์ประกอบที่เท่าเทียมกันทั้งสองข้าง บางท่านก็คงคิดถึงภาพที่มีความเหมือนกันเป๊ะๆ ทั้งด้านซ้าย และขวา ซึ่งจริงๆ แล้วความสมดุลในงานออกแบบ Graphic Design นั้นไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างในงานจะต้องเหมือนหรือเท่ากันทั้ง 2 ด้านอย่างพอดี แต่ความสมดุลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1.ความสมดุลที่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง
2.ความสมดุลย์ที่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
3.ความสุมดุลแบบรัศมี
- ตัวหนังสืออ่านง่าย
การเขียนบทความลงในภาพนั้นต้องมีความอ่านง่าย เข้าใจง่าย ดูได้จากองค์ประกอบดังนี้
1. ขนาด เป็นพื้นฐานที่สุดแล้ว อยากให้อ่านง่ายก็ทำใหญ่ๆ แต่การทำใหญ่ทำเล็กก็ควรเป็นไปด้วยนัยยะสำคัญของลำดับขั้นการสื่อสารด้วย
2. สีและความคมชัด เช่นการใช้คู่สีตรงข้ามหรือตัวหนังสือสีอ่อนบนพื้นเข้ม เหล่านี้คือหลักการสร้างความคมชัดด้วยรูปทรง นั่นก็คือรูปทรงของตัวหนังสือที่โดดออกมาจากพื้นหลังมากๆ นั่นเอง
3. สไลต์ บางทีเราจำเป็นต้องใช้ฟอนต์ที่เท่ๆ เราจึงต้องจัดวางอย่างระมัดระวังและตรวจสอบว่ามันลงตัวกับฟอนต์อื่นๆ ที่เรียบนิ่งด้วยหรือเปล่า
- Contrast
ถ้างานออกแบบไหนที่ไม่มี Contrast ในงานออกแบบที่ออกมานั้น ทุกๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาดรูปร่าง รูปทรงต่างๆ หรือ สีที่ใช้ จะทําให้งานออกแบบนั้นจะดูไม่น่าสนใจ และน่าเบื่อเอามากๆ
- ใช้พื้นที่ว่างให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
1. ความใกล้กัน คือการวางองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ใกล้เคียงกัน เว้นระยะห่างพอประมาณพอให้ได้รู้ว่ามีจังหวะบางอย่างอยู่ เพื่อสร้างความต่อเนื่องของการจัดวางให้สมดุลน่าสนใจมากขึ้น
2. พื้นที่สีขาว ( White Space ) คือการจัดสรรค์ที่ว่างโล่ง เพื่อปล่อยให้องค์ประกอบเด่นได้เฉิดฉายอย่างเต็มที่ นอกจากนี้พื้นที่ว่างยังช่วยให้ภาพรวมดูสะอาดและสบายใจ เหมาะกับงานออกแบบที่เน้นลุคแบบนี้ได้อย่างดี
- Mood and Tone
การสร้าง Mood and Tone นั้นสามารถสร้างแนวทางความเป็นเอกลักษณ์ให้กับงานของคุณได้เป็นอย่างดีมาก ซึ่ง Mood and Tone นั้น มันไม่ใช่แค่เรื่องของการกำหนดสีหลัก หรือสีลอง มันเป็นอะไรที่มากกว่านั้น เพราะ Mood and Tone สามารถสื่อสารอะไรบางอย่างออกมาอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะด้วยรูปแบบตัวหนังสือ สีสัน รูปแบบกราฟิกที่ใช้ บวกกับการจัดวางที่พาให้งานชิ้นนั้นๆอยู่ในความรู้สึกและอารมณ์บางอย่าง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นคุณจะต้องสร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับผู้ที่พบเห็นงานของคุณหรือสินค้าของคุณได้ในทันที
- โทนสีที่กลมกลืน
นอกจาก Mood and Tone ขององค์ประกอบแล้ว สิ่งนึงที่ช่วยแยกดีไซน์ดีๆ ออกจากดีไซน์ธรรมดา ก็คือ การเลือกใช้สีได้อย่างกลมกลืน ไม่ได้หมายความแค่การใช้สีโทนเดียวกันเท่านั้น แต่เรากำลังพูดถึงสีที่อยู่ตรงข้ามด้วยที่อาจจะถูกใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสม ก็จะทำให้เกิดงานที่ไม่ได้ดูเรียบจนน่าเบื่อ แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความชัดเจนที่ว่างานออกนี้จะไปในแนวทางของสีไหนด้วย