เทคนิคการออกแบบกราฟฟิกให้สื่อความหมาย และสร้างมูลค่า

เทคนิคการออกแบบกราฟฟิกให้สื่อความหมาย และสร้างมูลค่า

เทคนิคการออกแบบกราฟฟิกให้สื่อความหมาย และสร้างมูลค่า
งานกราฟฟิกดีไซด์ นับว่าเป็นงานที่มีความละเอียดอ่อนในส่วนต่าง ๆ การถ่ายทอดศิลปะผ่านเครื่องมือการทำงานที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์ เราจะสามารถเห็นงานกราฟฟิกได้ทั่วทุกมุมในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิกออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ กราฟฟิกรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิกในส่วนของเว็บไซต์ แบนเนอร์ โบรชัวร์ ต่าง ๆ แต่งานกราฟฟิกที่มีคุณค่า สื่อความหมายนั้นต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง ความสวยของชิ้นงานอย่างเดียวคงไม่พอ
 

หลักการสำคัญของการทำงานกราฟฟิก
1.กลุ่มเป้าหมาย
การจัดทำกราฟฟิกขึ้นแต่ละชิ้น ต้องมีการวางแผนถึงกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้รับสาร ว่าจะเป็นกลุ่มคนประเภทใด อายุใด และมีความสนใจในเรื่องไหน ถึงจะสามารถเข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสารออกไปผ่าน รูปภาพ ตัวหนังสือ  
2. สัญญะ และสัญลักษณ์ ในการสื่อความหมาย 
สัญญะ คือ การใช้วัตถุ สิ่งของ สัตว์รูปร่างชนิดต่าง ๆ รส ภาพ เข้ามาเป็นตัวแปรในการสื่อความหมายในชิ้นงานนั้น เป็นการเพิ่มลูกเล่นชวนให้คนดูคิดตาม มีส่วนร่วมไปกับชิ้นงานของเรา เป็นทักษะที่สำคัญที่นักกราฟฟิกจำเป็นต้องมี เหมือนเป็นการมีชั้นเชิงในการออกแบบที่เหนือ และโดดเด่นกว่าคนอื่น
3.ลักษณะการใช้สี
การใช้สีในการออกแบบงานกราฟฟิก นักออกแบบกราฟฟิกควรรู้ความหมายเกี่ยวกับสีในวรรณะต่าง ๆ เสียก่อน แล้วนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับงาน เพื่อให้งานชิ้นนั้นสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน การใช้สีในงานแต่ละงาน ไม่ควรเกิน 3-5 เฉดสี เพื่อเป็นการคุมโทนสี งานจะได้มีทิศทางไปในแบบเดียวกัน ไม่ใช้สีเยอะจนเกินไป แต่ทั้งนี้การใช้สีก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของงาน เช่น ต้องการแบบคัลเลอร์ฟูล การใช้สีจะต้องมีหลากหลาย สีฉูดฉาด สีบนงานจะต้องดูสดใส
4.การใช้ตัวหนังสือ
การใช้ตัวหนังสือในงานกราฟฟิกเป็นส่วนที่สื่อความหมายอย่างตรงตัวมากที่สุด ผู้อ่านจะต้องเข้าใจโดยง่าย ไม่ซับซ้อน การใช้ฟอนต์ตัวหนังสือก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกฟอนต์ให้เข้ากับลักษณะงาน เช่น งานราชการ งานกึ่งทางการ งานตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละองค์กรต่าง ๆ 
5.ลักษณะการจัดวาง Layout
ก่อนที่จะสร้างงานขึ้นมาได้แต่ละชิ้น ต้องมีการวางโครงสร้างเสียก่อน หากต้องการสร้างบ้านก็ต้องมีการออกแบบโครงสร้างของบ้าน งานกราฟฟิกก็เช่นเดียวกันจำเป็นต้องวาง Layout ว่าในแต่ละส่วนจะนำอะไรลงไปบ้าง เช่นในส่วนของหัวกระดาษ ด้านข้าง ด้านล่าง เพื่อเป็นการตีกรอบไม่ให้งานหลุดออกจากประเด็นที่ต้องการจะสื่อ  รวมไปถึงการจัดวางของพื้นที่ ที่ไม่ให้ดูรกและว่างจนเกินไป