How to การออกแบบ Mobile App

How to การออกแบบ Mobile App

ใครๆ ก็น่าจะมีความคิดที่ว่าภาพลักษณ์ที่ดีและสวยงามก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เพราะแว้บแรกที่เราเห็นเราก็อาจจะมีการตัดสินใจขึ้นมาอย่างรวดเร็วว่าเราถูกใจสิ่งนี้หรือไม่ เช่นเดียวกันกับการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบสิ่งใดก็ตามแต่ภาพแรกที่เราเห็นหรือสัมผัสน่าจะทำให้เราสามารถสะดุดตาและถูกใจกับสิ่งเหล่านั้นได้ไม่ยาก สำหรับบทความนี้จะพูดถึงเรื่องของการดีไซน์แอปพลิเคชั่น ที่ออกแบบอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งานบนมือถือ สมาร์ทโฟนคู่ใจ และออกแบบอย่างไรให้ถูกใจผู้ใช้งานมากที่สุด

เพราะการออกแบบของนักดีไซน์บางคน อาจจะไม่คุ้นชินหรือไม่เข้าใจว่าการออกแบบให้มีการใช้งานบนมือถือได้นั้นควรจะเป็นอย่างไร และมีในลักษณะไหนดี มาดูกันเลย

1.อย่าแสดงเนื้อหาเป็นตารางที่เกิน 3 คอลัมน์ขึ้นไป
เพราะแอปพลิเคชั่นส่วนใหญ่นั้นจะเกี่ยวข้องกับข้อมูล การออกแบบกับข้อมูลที่มีอยู่จริงอาจทำให้การดีไซน์ของเรานั้นคาดเคลื่อนออกไปได้ 

ขนาดของหน้าจอมือถือนั้นจะเหมาะกับข้อมูลที่มีการแสดงผลไม่เกิน 3 คอลัมน์ (แท็บเล็ตก็จะมีความแตกต่างมากขึ้น ตามขนาดของหน้าจอ) ซึ่งถ้าหากเรานำเอาข้อมูลมาแสดงผลมากกว่านี้ก็จะทำให้เนื้อหานั้นดูแน่นจนเกินไป และการแสดงผลข้อมูลในแต่ละช่องก็จะสามารถจัดการได้ยาก อาจทำการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงผลจากตารางเป็นแบบอื่น หรือหากเราไม่ทราบขอบเขตของข้อมูลก็อาจจะทำการดีไซน์โดยให้มีพื้นที่กว้าง เป็นต้น และที่สำคัญที่สุดคือเมื่อเราทำการเปลี่ยนแปลงการแสดงผลแล้วอย่าลืมว่า ต้องให้มีลักษณะที่ดูง่ายขึ้น เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วยนะ!

2.บางอย่างไม่จำเป็นต้องมีเส้นคั่น
การใส่เส้นคั่นในทุกข้อมูล อาจทำให้ความต้องการของเราที่ต้องการให้มีความเป็นระเบียบหรืออื่นใดก็ตามแต่ อาจกลายเป็นรกตาและไม่สบายตาในการอ่านข้อมูลไปเลยก็เป็นได้ หากลองเลือกที่จะไม่ใส่เส้นคั่นต่างๆ อาจช่วยให้เนื้อหาดูง่าย สบายตามากขึ้น

3.อย่าลืมช่องว่าง
การออกแบบจำเป็นต้องมีช่องไฟที่เหมาะสม เรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นเกี่วกับทุกการออกแบบ ไม่ควรให้อยู่ในที่แคบเกินไปอาจจะทำให้อึดอัด ดังนั้นการใช้ Margin และ Padding มีความสำคัญมากเพราะการเว้นระยะที่เหมาะสมนั้นจะทำให้งานออกแบบ เนื้อหาที่เราต้องการนำเสนอนั้นมีความลงตัว ดูสบายตาและไม่อึดอัด ช่วยให้เนื้อหาไม่เยอะจนเกินไปอีกด้วย ที่สำคัญคือไม่ควรเว้นมากเกินไป เพราะอาจทำให้ไม่สมดุลและเปลืองพื้นที่หน้าจอ

4.ดีไซน์ให้เรียบง่ายเข้าไว้
ยุคนี้เราอาจจะเห็นเกี่ยวกับ Flat Design จำนวนมากและยอดนิยม แต่ในการดีไซน์แบบ Realism แทบจะเห็นได้น้อยมากและไม่เห็นเลยก็ว่าได้ เพราะ Falt Design จะทำให้ Resource มีขนาดน้อยลงไม่สิ้นเปลือง สามารถทำให้การดีไซน์ทั้งหน้าเว็บและแอปพลิเคชั่นนั้นไม่เยอะและไม่ยุ่งยาก อีกทั้ง Flat Design นั้นเอื้ออำนวยต่อการเขียน Code และยังเป็นการยกรูปแบบของ Flat Design ไปเป็นส่วนหนึ่งใน Material Design อีกด้วย เมื่อนำ Material Design มาใช้ในการออกแบบแอปพลิเคชั่นก็จะทำให้สามารถสร้าง Code ได้แทบทั้งหมด

5.ต้องซูมได้ด้วย
ทำไมถึงต้องซูมได้? แต่แท้จริงแล้วนั้นแอปพลิเคชั่นที่ดีที่ตอบสนองต่อการใช้งานของผู้ใช้งาน ต้องอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานด้วย ใช่หรือไม่? ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องออกแบบไว้เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถย่อและขยายเพื่อให้ดูได้ง่ายขึ้น เพราะในบางเนื้อหาหรือข้อมูลบางอย่างอาจจะมีรูปแบบที่เล็กจนเกินไป การออกแบบนี้จึงจำเป็น

6.ปุ่มกดควรกดได้ง่ายและมีขนาดที่เหมาะสม
เพราะว่าแอปพลิเคชั่นบนมือถือนั้นไม่ได้ใช้เมาส์ที่จะมี Cursor เล็กปลายแหลมที่จะเลือกจิ้มในส่วนที่ต้องการได้ แต่สำหรับการใช้นิ้วของผู้ใช้งานนั้นจะมี Cursor ที่ใหญ่กว่าและจุดสัมผัสหน้าจอนั้นจะไม่ใช่ปลายนิ้ว ดังนั้นหากปุ่มที่ออกแบบมีขนาดเล็กเกินไปก็จะทำให้สัมผัสได้ยาก และหากมีปุ่มอื่นๆ ที่อยู่ติดกันด้วย ก็อาจทำให้กดผิดและโดนปุ่มที่ไม่ต้องการได้ง่ายอีกด้วย

7.อย่าให้ Users ต้องรอนาน
แน่นอนว่าทุกแอปพลิเคชั่นมีการโหลดข้อมูล ซึ่งในบางครั้งข้อมูลที่มากเกินไปก็ไม่สามารถทำให้เกิดความเร็วในการโหลดที่เพิ่มขึ้นได้ (อีกทั้งปัจจัยอื่นเช่นพื้นที่ของเครื่อง, ความเร็วของอินเทอร์เน็ต ที่มีผลในการดาวน์โหลด) และการแก้ปัญหาของนักพัฒนาแอปพลิเคชั่นคือการทำหน้าแสดง Progress ในการโหลดข้อมูล แสดงตัวเลข% ของการโหลดข้อมูลว่าถึงไหนแล้ว และนอกจากการบอก Progress เป็นตัวเลข % แล้ว ก็มักจะใช้วิธีการ Estimate เวลาที่เหลือแล้วแสดงให้ผู้ใช้งานรู้ว่าต้องรออีกกี่นาที (แต่ส่วนใหญ่ก็อาจจะนานกว่า หรือเสร็จเร็วกว่าทั้งนั้น) อีกทั้งสิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่าทำให้ผู้ใช้งานคิดว่า แอปฯที่โหลดนั้นค้าง ดังนั้นควรมีการเคลื่อนไหวเพื่อบอกผู้ใช้งานว่ากำลังโหลดข้อมูลอยู่นั่นเอง

8.การแสดงผลโต้ตอบกับผู้ใช้งาน
เมื่อมีการใช้งาน Interactive กับวัตถุใดก็ตามในแอปพลิเคชั่น ควรจะต้องมีการแสดง Feedback กลับมาที่ผู้ใช้เพื่้อให้ผู้ใช้ได้รับรู้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงไม่ให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสน และควรจะมีการแสดง Interaction ทันทีที่เกิดการใช้งาน และ Feedback ที่เกิดขึ้นควรจะแสดงที่วัตถุที่ผู้ใช้นั้นได้ Interactive เท่านั้น ไม่ควรเกิดกับวัตถุอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่ใช้เวลาที่นานจนเกินไปอีกด้วย