12 สิ่งที่บอกว่างาน Design ของเราดูดีหรือยัง

12 สิ่งที่บอกว่างาน Design ของเราดูดีหรือยัง


ในหลายครั้งที่นักออกแบบก็อาจบอกใครต่อใครไม่ได้ว่างานของตนเองนั้นดีอย่างไร? แต่ในความเป็นจริงมันมีหลักการ, คุณลักษณะบางอย่างที่จะสามารถบอกเราได้ว่า ดีไซน์นี้เป็นอย่างไร ดีหรือไม่? และเหตุผลต่อไปนี้เองที่จะเป็นองค์ประกอบที่จะอธิบายได้ว่างานดีไซน์ของเรานั้นเป็นอย่างไร อีกทั้งเพื่อให้เป็นแนวทางในการอธิบายรูปแบบผลงานตัวเองของนักดีไซน์เนอร์ให้มองเห็นภาพได้ตรงกันมากขึ้น

• มีจุดโฟกัส
เพราะส่วนที่เด่นที่สุดในภาพคือจุดโฟกัส จะเป็นแว๊บแรกที่สายตาจะไปะทะกับผลงาน ดังนั้นจุดโฟกัสจึงเป็นส่วนที่เรามักจะใส่สิ่งที่สำคัญที่สุดลงไป โดยการได้มาซึ่งจุดโฟกัสนั้นมีอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขนาด รูปทรง สีนสัน หรือตำแหน่ง และไม่ได้มีกฏตายตัวที่บอกว่าจุดใดคือจุดโฟกัสจุดนั้นจะชัดที่สุดและส่วนอื่นจะเบลอ เพราะงานกราฟิกไม่ใช่ภาพถ่าย แต่จะใช้วิธีการมองผ่านแว๊บๆ ส่วนไหนที่เราเห็นหรือปะทะกับสายตาของเราก่อน นั่นคือ จุดโฟกัส

• มีความต่อเนื่อง
ความต่อเนื่องในการออกแบบนั้นหมายถึงความลื่นไหลในกราฟิกและข้อความที่สอดคล้องตอบรับกันอย่างตรงไปตรงมา สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามความต้องการของผู้ส่งสาร อย่าลืมตรวจสอบด้วยว่าผู้รับสารนั้นจะรับรู้ในเจตนาที่เราสื่อออกไปจริงๆ ไม่ได้ตีความหรือสื่อความหมายผิดไป เหล่านี้เองที่เรียกว่าความต่อเนื่อง เพราะถึงแม้ว่าเราอาจเริ่มต้นด้วยจุดโฟกัสแต่การไปสู่จุดอื่นๆ ก็ต้องลื่นไหลด้วยเช่นกัน
        การทำซ้ำ : สามารถเรียกการซ้ำองค์ประกอบได้หลากหลาย เช่น Pattern, Repeat, Loop เป็นต้น และการซ้ำ
               นั้นไม่ใช่เพียงการก็อปปี้วัตถุ แต่คือการสร้างจังหวะบางอย่างที่มีทิศทางเดียวกันเพื่อให้ไปสู่เรื่องราวอื่นต่อไปได้
        การแบ่งสัดส่วน : การแยกองค์ประกอบออกจากกันอย่างชัดเจน โดยลักษณะที่เราคุ้นชินคือกริด และกรอบ                     ที่มีการเรียงลำดับจากใหญ่ไปเล็ก ซ้ายไปขวา หรือบนไปล่าง
        พื้นที่ว่าง (White Space) : ส่วนพื้นที่ว่าง อาจเป็นพื้นสีขาวหรือสีพื้น ซึ่งในการออกแบบนั้นเราไม่จำเป็นต้อง
                 ทำให้ทุกพื้นที่เต็มไปด้วยองค์ประกอย เพราะว่าพื้นที่ว่างนั้นก็สามารถเป็นองค์ประกอบที่นำมาใช้ประโยชน์ได้                 เช่นกัน

• ความสมดุล
ความสวยงามที่ธรรมชาติมอบให้แก่เรา โดยมองดูจากสิ่งต่างๆ รอบกายก็ล้วนแล้วแต่มีความสมมาตร แม้แต่ด้านซ้ายกับด้านขวาก็ยังมีความสมดุล ในส่วนของงานดีไซน์ความสมดุลก็ช่วยให้งานออกมาดูดีได้

• Typefaces อยู่ด้วยกันอย่างดี
หลายครั้งเราอาจจะไม่ได้ใช้ Typefaces (หรือเรียกติดปากว่า font) เพียงแบบเดียวในการออกแบบ ตัวอย่างเช่น อาจมี Headline เป็นฟอนต์นึง เนื้อหาอีกฟอนต์นึงซึ่งอาจเป็นรูปแบบที่อ่านง่ายกว่า และที่สำคัญนั่นก็คือต้องให้ทั้งสองฟอนต์นี้มีความสอดคล้องกลมกลืนกันอีกด้วย 

• ตัวหนังสืออ่านง่าย
เพราะถึงแม้ว่าการออกแบบที่สวยงามของเรานั้นจะน่าชื่นชมสักเพียงใด แต่ถ้าตัวหนังสืออ่านยากก็หมดความน่าสนใจได้มากโขทีเดียว ดังนั้นหน้าที่ของนักดีไซน์เนอร์ คือการลดปัญหาเหล่านี้นั่นเอง
        ขนาด : เป็นพื้นฐานที่สำคัญ เพราะหากอยากให้อ่านง่ายก็ทำใหญ่ๆ หรือเล็กไปตามรูปแบบ ตามนัยยะของการ

           สื่อสาร
        สีและความคมชัด : การใช้คู่สีตรงข้าม หรือตัวหนังสือสีอ่อนบนพื้นเข้ม เหล่านี้คือหลักการสร้างความคมชัดด้วย          รูปทรง
        สไตล์ : การใช้ฟอนต์ที่แปลกและเท่นั้นอาจต้องมีการระมัดระวังในเรื่องการจัดวาง

• ความสมดุลของรูปแบบการใช้งาน
การออกแบบที่มีดีแค่สวยงามอาจไม่ตอบโจทย์การสื่อสาร มันต้องสามารถสื่อสารได้ตามความต้องการของผู้ออกแบบควบคู่กันไป เพราะหัวใจของการออกแบบคือการทำให้สองสิ่งนี้อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน

• มี Contrast
การตัดกันของเส้นสีและองค์ประกอบมีความสำคัญเทียบเท่ากับความคมชัดของภาพถ่าย แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ภาพถ่ายเราสามารถตัดสินได้จากการมองเห็นเพียงครั้งแรกได้เลยว่าภาพไหนเบลอ ภาพไหนชัด ซึ่งในเรื่องของกราฟิกนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ความคมชัดทางกราฟิกหมายถึงองค์ประกอบแต่ละอย่าง สีสัน รูปร่าง ขนาด เกิดเป็นความชัดเจนเข้าใจได้หรือไม่ และการตัดกันขององค์ประกอบต่างๆ ก็เพื่อเน้นให้บางสิ่งนั้นชัดออกมา

• ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่าง
Space นั่นคือการทำให้องค์ประกอบโดยรวมนั้นมีความเด่น และสมดุล ทำให้ส่วนประกอบต่างๆ นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
        ความใกล้กัน : การวางองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ใกล้กัน เว้นระยะห่างให้เหมาะสมกับจังหวะ
        พื้นที่สีขาว (White Space) : จัดสรรค์พื้นที่ว่างเพื่อให้องค์ประกอบนั้นๆ เด่น 

• อารมณ์ (Mood & Tone) ไปกันได้
หมายถึงภาพรวมทั้งหมดของภาพที่เข้ากันและดูแนบเนียน Mood & Tone ของภาพสามารถสื่อสารอะไรบางอย่างออกมาได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตัวหนังสือ สีสัน รูปแบบกราฟิกที่ใช้ เป็นต้น

• โทนสีที่กลมกลืน
นอกจากอารมรืและองค์ประกอบแล้ว สิ่งที่ช่วยแยกดีไซน์ดีๆ ออกจากดีไซน์ที่ธรรมดาคือ การใช้สีได้อย่างกลมกลืนนั่นเอง การใช้สีที่แปลกแต่เข้ากันได้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมก็อาจทำให้งานมีความตื่นเต้นและดูน่าสนใจได้ด้วยเช่นกัน
        เว็บชุดสีที่ตามเทรนด์และมีหลายประเภท – http://goo.gl/fNlbzU
        เว็บสร้างชุดสีของ Adobe – https://goo.gl/3SMWnm

• ตรงโจทย์หรือไม่
ก่อนเริ่มทำงานนั้นควรบรีฟงานให้เข้าใจตรงกันเสียก่อน เพราะหากมีผลประโยชน์ทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องการทำงานที่ไม่ตรงตามโจทย์ที่ได้รับจะทำให้เสียหาย เสียเวลา เสียอารมณ์กันทั้งผู้ออกแบบและผู้ว่าจ้าง 

• ผลงานมีคุณภาพสูง
คุณภาพสูงในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการมีรางวัลการันตีแต่เป็นไฟล์ที่มีความละเอียดสูง ความละเอียดคมชัด มีการตั้งค่าการทำงานอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สกุลสี (RGB / CMYK / etc.) ขนาดของตัวงาน หรือแม้แต่นามสกุลของไฟล์เอง มันควรต้องมีคุณภาพที่ดียืดหยุ่นพอจะนำไปใช้งานต่อในสภาพแวดล้อมอื่นๆ ได้ 

เหตุผลทั้งหมดข้างต้นอาจเป็นเพียงแนวทางให้ปฏิบัติ อาจนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันหรือการทำงานที่ทำอยู่ ก็อาจเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับตัวเองอีกทั้งไม่แน่อาจเกิดเป็นแนวความคิดใหม่ขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ได้อีกด้วย
 






ที่มา : idxw