วิเคราะห์ AI กับกลยุทธ์ธุรกิจ | รศ.พสุ เดชะรินทร์

วิเคราะห์ AI กับกลยุทธ์ธุรกิจ | รศ.พสุ เดชะรินทร์

ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างพากันพัฒนาเทคโนโลยี AI ขึ้นมา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคม และการดำเนินธุรกิจของตนเองมากขึ้น ที่ต้องการความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว ความแม่นยำ และการลดต้นทุน หรือเพื่อประโยชน์อื่นๆ

 

ซึ่งธุรกิจต่างๆ มีการนำ AI มาใช้ในเชิงกลยุทธ์และมีการดำเนินงานมาในระยะหนึ่งแล้ว และอย่างไรก็ดี จากกระแสความตื่นตัวของ AI ที่เพิ่มมากขึ้นในระยะหลังจากปรากฏการณ์ของ ChatGPT ยิ่งทำให้ธุรกิจมีความตื่นตัวที่จะนำ AI มาใช้มากขึ้น

 

แน่นอนว่าเมื่อมีการพัฒนา AI ที่มากขึ้นและสามารถใช้งานได้จริง แต่ในอีกมุมมองหนึ่งกลับมองว่า จริงๆ แล้ว AI เป็นเพียงแค่ของเล่นใหม่ของนักเทคโนโลยีและผู้บริหารบางกลุ่ม เหมือนกับ Metaverse ที่เมื่อเริ่มเกิดขึ้นก็เป็นกระแสหลักแต่ในปัจจุบันก็เริ่มแผ่วลงกันไปแล้ว

 

โดยองค์กรต่างๆ ที่กำลังพิจารณาในการนำ AI มาใช้กับกลยุทธ์การดำเนินงานนั้น อาจจะเริ่มจากการพิจารณาบรรดา AI Maturity Model ต่างๆ ที่หลายๆ บริษัทพัฒนาขึ้นมา

 

เพื่อแสดงถึงเส้นทางในการเดินของการนำ AI มาใช้ในองค์กร เช่น  ไมโครซอฟท์พัฒนา AI Adoption Model 5 ขั้น ประกอบด้วย

 

1. Optimizing (การเพิ่มประสิทธิภาพ) ซึ่งเป็นขั้นการใช้ประโยชน์จาก AI อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อสร้างความได้เปรียบทางกลยุทธ์และการแข่งขัน

2. Scaling (การขยายโครงสร้างของระบบ) เป็นขั้นที่นำ AI มาใช้และบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์และการดำเนินงาน

3. Enabling เป็นขั้นของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของข้อมูล การกำกับระบบความปลอดภัย

4. valuating เริ่มประเมินถึงโอกาสที่ AI จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ และการเข้ามาใช้ในธุรกิจที่ทำอยู่

5. Exploring เป็นขั้นเริ่มต้นที่สำรวจถึงความเป็นไปได้ และโอกาสในการนำ AI มาใช้ อาจจะมีการทดลองในระดับเล็กๆ และเริ่มสร้างความตระหนักรับรู้ในเรื่องของ AI

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีธุรกิจชั้นนำของโลกหลายแห่งที่นำ AI มาใช้กับกลยุทธ์ธุรกิจ โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ ที่บริษัทอย่าง Walmart, Coca-Cola, P&G ได้นำ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เพื่อหาทิศทาง แนวโน้ม ในพฤติกรรมของลูกค้า เป็นต้น

 

สรุป

ข้อสรุป จากการที่องค์กรจะนำ AI มาใช้นั้น สามารถแบ่งกลุ่มประเภทการใช้งานออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่

1. Innovation (นวัตกรรม) เพื่อใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ แสวงหาตลาดใหม่ รวมทั้งโอกาสใหม่ในการเพิ่มรายได้

2. Optimization (การเพิ่มประสิทธิภาพ) เป็นการยกระดับในเรื่องประสิทธิภาพการดำเนินงานภายใน ทั้งการบริหารสินค้าคงเหลือ การจัดสรรทรัพยากร หรือการขนส่ง เป็นต้น

3. Personalization (ส่วนบุคคล) เพื่อให้คำแนะนำที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน โดยดูจากข้อมูลในอดีต

4. Prediction (การทำนาย) ใช้ในการพยากรณ์อนาคตหรือแนวโน้ม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมลูกค้า แนวโน้มตลาด

5. Automation (ระบบอัตโนมัติ) นำ AI มาใช้ในงานที่ใช้เวลา ปริมาณที่มาก ทำซ้ำๆ เช่น การตอบคำถามเดิมๆ ของลูกค้า

ทั้งนี้ หากองค์กรใดที่สนใจในการนำ AI เข้ามาใช้ในกลยุทธ์และการดำเนินงาน สามารถเริ่มต้นจากทั้ง AI Maturity Model ว่าปัจจุบันองค์กรอยู่ในจุดใด และทำอย่างไรถึงจะพร้อมที่จะก้าวสู่ขั้นต่อไป และพิจารณาว่าจะนำ AI มาใช้ในด้านใดได้บ้าง

 

เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียเปรียบทางการแข่งขัน ที่จะเกิดขึ้นเมื่อองค์กรอื่นใช้แล้ว แต่ตนเองกลับไม่ได้ใช้ นั่นเอง
 

 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย





 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : bangkokbiznews