การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้น

การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้น

การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้น ที่สะพานโกลเดนเกต (Golden Gate Bridge) ในนครซานฟรานซิสโกของสหรัฐฯ 

 

สำหรับ Golden Gate Bridge นั้น คือหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่โด่งดังที่สุดในโลก แต่ในความสวยงามนั้นกลับมีเรื่องที่เลวร้ายแฝงอยู่ เนื่องจากตั้งแต่มีการเปิดใช้งานในปี 1937 สะพานยาว 2.7 กิโลเมตรแห่งนี้ กลับกลายเป็นสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากใช้กระโดด “ปลิดชีพตัวเอง”

 

Kevin Hines (เควิน ไฮนส์) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากการคิดสั้นกระโดด Golden Gate Bridge และตอนนี้เขากลับเป็นหนึ่งในผู้ที่รณรงค์ให้สะพานแห่งนี้มีระบบยับยั้งการฆ่าตัวตาย

 

หลังจาก “ออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคนคิดสั้น” โดยการติดตั้งตาข่ายนิรภัยไว้ด้านใต้สะพาน จึงทำให้พบข้อมูลจาก กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่รอดชีวิตจากการกระโดดพานระบุว่า…การออกแบบทางสถาปัตยกรรมใหม่นี้จะเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ในการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายที่นี่

 

และข้อมูลจาก Golden Gate Bridge Highway and Transportation District (ทางหลวงและเขตการขนส่งสะพานโกลเดนเกต) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลพื้นที่บริเวณสะพานโกลเดนเกตระบุว่า

 

“นับแต่สร้างแล้วเสร็จเมื่อ 85 ปีก่อน มีคนใช้สะพานแห่งนี้เป็นสถานที่ปลิดชีพตัวเองไปกว่า 1,800 คน”

 

ซึ่งการติดตั้งตาข่ายนิรภัยแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 2023 ไฮนส์ กล่าวว่า แต่ละปีมีจำนวนคนกว่า 20 คนที่กระโดดสู่ความตาย ณ สะพานแห่งนี้ ซึ่งเขาหวังว่าตัวเลขนี้จะกลายเป็นศูนย์หลังจากที่มีการติดตั้งตาข่ายนิรภัย

 

โดยในช่วงวันสำคัญต่างๆ เช่น วาเลนไทน์ (14 ก.พ.) หรือวันคริสต์มาสอีฟ (24 ธ.ค.) จะเป็นช่วงที่หลายคนมักเลือกจบชีวิตตัวเอง และในปี 2021 นั้น ได้มีการโน้มน้าวใจไม่ให้คนกระโดนสะพานได้ถึง 198 ราย

 

แต่ถึงกระนั้นก็มีคนกระโดดสะพานสำเร็จกว่า 25 คน แต่...พบศพเพียง 21 ราย เนื่องจากกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก อย่างไรก็ตามคาดว่า 98% ของผู้กระโดดจากสะพานโกลเดนเกตจะไม่รอด!

 

การออกแบบตาข่ายนิรภัยจะได้ผลหรือไม่

พอล มูลเลอร์ หัวหน้า Bridge Rail Fund องค์การนอกภาครัฐที่วิ่งเต้นให้มีการติดตั้งระบบความปลอดภัยที่สะพานโกลเดนเกตเปิดเผยกับ BBC ว่า...

 

“โครงการติดตั้งตาข่ายนิรภัยที่สะพานโกลเดนเกตใช้แนวคิดการออกแบบเดียวกันกับระบบที่ติดตั้งในกรุงเบิร์น ของสวิตเซอร์แลนด์ ในปี 1998 ซึ่งช่วยลดตัวเลขการฆ่าตัวตายลงได้อย่างมาก”

 

แต่ในทางกลับกัน ฝ่ายวิจารณ์หลายคนเชื่อว่าตาข่ายนิรภัยจะทำให้คนคิดฆ่าตัวตายในสถานที่อื่นๆ แทน โดยเขาอ้างอิงผลการศึกษาที่สะพานแห่งหนึ่งในนครโทรอนโต ของแคนนาดา 

 

“หลังจากการติดตั้งเครื่องกั้นทำให้ตัวเลขคนฆ่าตัวตายที่ 9 รายต่อปีลดลงเกือบเป็นศูนย์ แต่ตัวเลขการฆ่าตัวตายลักษณะเดียวกันกลับไปเพิ่มขึ้น ณ สะพานแห่งอื่นแทน!”

 

Kevin Briggs (เควิน บริกส์) ซึ่งเป็นอดีตตำรวจสายตรวจเคยช่วยผู้คนกว่า 200 คนไม่ให้กระโดดสะพานโกลเดน เขาเชื่อว่าตาข่ายนิรภัยนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้งานด้านป้องกันการฆ่าตัวตายที่นี่

 

เพชฌฆาตคร่าชีวิตคนทั่วโลก

องค์การอนามัยโลกประเมินว่าแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายกว่า 700,000 คนทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้คนฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ในทุก 40 วินาที

 

ในส่วนของประเทศไทยของเรา

พ.ศ. 2560 -2563 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในไทยสูงขึ้นทุกปี โดยตัวเลขล่าสุดพบการฆ่าตัวตายสำเร็จ 4,800 คนต่อปี

 

ตัวเลขจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า เฉลี่ยแล้วคนไทยมีความพยายามฆ่าตัวตายราว 53,000 คนต่อปี แต่ที่น่ากังวลคือคนที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จมีแนวโน้มที่จะพยายามกลับมาฆ่าตัวตายซ้ำ

 

สถิติจากกรมสุขภาพจิตบ่งชี้ถึงปัญหาการฆ่าตัวตายในไทยช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 ว่ากลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนวัยทำงานถึง 4 เท่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

 

และข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติระบุว่า เฉพาะปี 2564 มีกลุ่มวัยเรียน อายุ 15-24 ปี ฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 439 คน

 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งเรามีจุดประสงค์เพื่อให้รู้ถึงประโยชน์ของ “การออกแบบสถาปัตยกรรมช่วยชีวิตคน” ที่อาจจะสร้างไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ให้ผู้อ่านนั้นได้นำไปปรับใช้และสร้างสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้คนในสังคมไทยของเราต่อไปครับ

 


 

สามารถดูข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการออกแบบเพิ่มเติมได้ที่ : wynnsoftstudio 





 

---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : ข่าว BBC ไทย ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจ เป็นความร่วมมือของสององค์กรข่าว