อีกหนึ่งความล้ำสมัย “แมลงสาบไซบอร์ก” ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

อีกหนึ่งความล้ำสมัย “แมลงสาบไซบอร์ก” ช่วยเหลือผู้ประสบภัย

แน่นอนครับเราไม่อาจทราบหรือคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าอุทกภัยจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือเหตุการณ์บางอย่างอาจเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น ตึกอาคารบ้านเรือนถล่มหรือด้วยสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้มีผู้คนติดอยู่ในซากปรักหักพังทั้งหลาย 

 

แน่นอนต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวันถึงจะค้นหาผู้สูญหายออกมาได้หมด แต่ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็นฝูงแมลงสาบเข้าถึงตัวผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและชี้จุดที่ผู้คนกำลังรอความช่วยเหลืออยู่ได้อย่างทันท่วงทีก็เป็นได้ครับ

 

โดยขณะนักวิจัยชาวญี่ปุ่นจากบริษัทวิจัย โรเค (Riken) พวกเขาได้ตั้งความคาดหวังไว้ว่าจุดประสงค์ดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นจริงและสามารถใช้งานได้จริงในอนาคตจากการพัฒนา "แมลงสาบไซบอร์ก" ซึ่งแมลงสาบไซบอร์กเหล่านั้น จะถูกติดด้วยอุปกรณ์แปลงไฟฟ้าขนาดเล็กไว้บนหลัง จากนั้นจะถูกควบคุมการเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วยรีโมทคอนโทรลนั่นเองครับ

 

การวิจัยในครั้งนี้ใช้แมลงสาบพันธุ์มาดากัสการ์ฮิซซิ่ง เนื่องจากแมลงสาบดังกล่าวมีขนาดใหญ่พอที่จะสามารถรองรับน้ำหนักของอุปกรณ์ได้ ซึ่งจะทำให้แมลงสาบเหล่านี้เคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก และที่สำคัญแมลงสาบเหล่านี้ไม่มีปีกทำให้การติดตั้งอุปกรณ์ไว้บนด้านหลังนั้นดียิ่งขึ้นและไม่รบกวนพวกมัน

 

แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถถอดออกได้หลังจากที่แมลงสาบเหล่านั้นทำภารกิจเสร็จสิ้น หลังจากนั้นพวกมันสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกตินั่นเองครับ

"แมลงสาบไซบอร์ก" ได้ถูกทดลองที่ห้องทดลอง Thin-Film Device ของบริษัทไรเคน โดยเคนชิโร ฟุกุดะ และทีมงานของเขา ด้วยวิธีการดังนี้ 

  1. ใช้แผ่นโซลาร์เซล์ที่มีความหนาเพียง 4 ไมครอน หรือ 1/25 ของความกว้างของเส้นผมมนุษย์
  2. ติดลงบนหลังของแมลงสาบที่ใช้ในการทดลองพร้อมกับอุปกรณ์คล้ายเป้สพายหลังขนาดจิ๋ว
  3. แผ่นโซลาร์เซลล์นี้จะใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับส่งสัญญาณกระตุ้นแมลงสาบให้ทำตามกลไกควบคุม 

 

อย่างไรก็ตามเจ้าแมลงสาบดังกล่าวก็ยังสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ ทำให้สามารถใช้งานตามพื้นที่ประสบภัยต่างๆ ได้อย่างง่ายดายกว่าการใช้ใช้หุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่

แน่นอนจุดประสงค์และความคาดหวังของทีมงานนักวิจัยต่อไปในอนาคตคือ การทำให้อุปกรณ์ข้างหลังแมลงสาบนั้นมีขนาดเล็กลง เพื่อให้พวกมันสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือการเพิ่มพื้นที่ให้สามารถติดตั้งกล้องเซนเซอร์และกล้องขนาดจิ๋วได้นั่นเอง

 

การวิจัยดังกล่าวถึงแม้ว่าเป็นแค่เพียงจุดเริ่มต้นแต่นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคตข้างหน้า

 

ฟุกุดะเชื่อว่า ผลงานชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อภารกิจกู้ภัยในอนาคต และแผ่นฟิล์มโซลาร์เซลล์นี้ยังอาจนำไปใช้ในทางการแพทย์ได้อีกด้วย




 

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : voathai / NBC News