ห้ามจดลิขสิทธิ์ “ภาพวาด” ที่สร้างขึ้นด้วย Ai ทั้งหมด

ห้ามจดลิขสิทธิ์ “ภาพวาด” ที่สร้างขึ้นด้วย Ai ทั้งหมด

นับตั้งแต่มีการพัฒนา AI (ปัญญาประดิษฐ์) ในการวาดภาพขึ้นมา ทำให้เกิดกระแสที่น่าตื่นตาตื่นใจในวงกว้างเกี่ยวกับ AI ที่สามารถวาดภาพได้อย่างสมจริง และในที่สุดก็ได้เกิดคำถามในสังคมว่า จริงๆ แล้วภาพที่ AI วาดขึ้นมานั้น เป็นลิขสิทธิ์ของใครกันแน่?

 

จนกระทั่งล่าสุด สำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ (หรือ USCO) ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีนี้ โดยกล่าวว่า : “รูปภาพที่สร้างขึ้นด้วยการส่งข้อความ (Prompt) ไปยังเครื่องมือ AI ต่างๆ จะไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ภายในประเทศได้”

 

เหตุผลที่ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ภายในประเทศได้ 

  1. เนื่องจาก AI ได้รับการสั่งผ่าน Prompt เพื่อให้ผลิตทั้งงานเขียน รูปภาพ หรืองานเพลง ซึ่งถือว่าเป็นงานที่เกิดจากเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ไม่ใช่มนุษย์
  2. ผลงานอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจาก AI จะไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์และการขึ้นทะเบียนผลงานเช่นกัน
  3. เป็นผลงานที่ถูกผลิตซ้ำในทางกลไกหรือ Mechanical Reproduction เนื่องจาก AI ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วจากระบบนิเวศลายเส้นมาประมวลให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใหม่
  4. บางกรณีพบว่ามีความใกล้เคียงกับรูปเดิมของศิลปินที่เป็นมนุษย์ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาคัดลอกผลงานตามมา

 

อย่างไรก็ตาม ลิขสิทธิ์จะครอบครองเฉพาะเนื้อหาที่เป็นผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เท่านั้น และ USCO ยังได้เปิดกว้างในเรื่องของการใช้ AI ในส่วนต่างๆ ของผลงาน โดยจะมีการสอบเป็นรายกรณี นั่นเอง

 

ยกตัวอย่างกรณีของศิลปินชื่อ Kris Kashtanova

Kris Kashtanova (คริส คัชตาโนวา) ได้ระบุว่า ผลงานหนังสือนิยายประกอบภาพที่มีภาพที่สร้างจาก AI ของเขาได้รับจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565

 

ซึ่งในหนังสือนิยายที่ชื่อว่า Zarya of the Dawn มีการสร้างภาพประกอบโดยใช้ Midjourney ที่ได้ยื่นต่อสำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ

 

โดยระบุว่า มีการใช้ AI เพื่อช่วยสร้างภาพประกอบ (แต่ไม่ได้สร้างภาพทั้งหมดด้วย AI) ซึ่งเขาเองได้เขียนเรื่องราวและสร้างสรรค์การจัดวางรูปแบบหนังสือด้วยตนเอง

 

อย่างไรก็ตาม หากเป็นองค์ประกอบแบบดั้งเดิมที่ถูกสร้างขึ้นด้วย AI นั่นหมายความว่าเป็นผลงานที่ไม่ได้สร้างสรรค์โดยมนุษย์ ท้ายที่สุดสำนักงานจะไม่ลงทะเบียนผลงานให้!

 

ในขณะเดียวกัน USCO ได้ริเริ่มความคิดในการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และเป็นประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ AI ตามคำขอจาก Congress และสาธารณชน

 

โดยจะเป็นเจ้าภาพการอภิปรายในหัวข้อต่างๆ (เรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์) ที่เกี่ยวข้องกับ AI ภายในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2566 



 

 

 

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : Engadget / bangkokbiznews