นักธุรกิจห้ามพลาดอ่านเพื่อเปิดมุมมอง! เฮลท์เทค สตาร์ทอัพ มองโอกาสธุรกิจหลังโควิด

นักธุรกิจห้ามพลาดอ่านเพื่อเปิดมุมมอง! เฮลท์เทค สตาร์ทอัพ มองโอกาสธุรกิจหลังโควิด

ล่าสุด เฮลท์เทค สตาร์ทอัพ มองโอกาสหลังโควิดคลี่คลาย Dietz.asia ชี้ ร.พ.เร่งปรับตัวสู่ดิจิทัล บุคลากรทางการแพทย์ โดยนายพงษ์ชัย เพชรสังหาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีซีชั่น ไดเอทซ์ จำกัด ได้ออกมาเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าโควิดนั้นคือตัวเร่งให้โรงพยาบาลปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลเร็วมากยิ่งขึ้น 

 

ซึ่งได้มีการแก้กฎหมายเพื่อรองรับการให้บริการแพทย์ทางไกล หรือ เทเลเมดิซีน เช่น มีการเชื่อมต่อบริการขนส่งยานั่นเองครับ ขณะที่โรงพยาบาลนำเทคโนโลยีมาใช้ให้ผู้ป่วย Home Isolation มากขึ้น และมีการบันทึกข้อมูลดิจิทัลมากขึ้น มีการเชื่อมต่อระบบจ่ายสั่งยา ระบบขนส่งยา หรือการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำคัญผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์มีความเข้าใจกับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

 

หากท่านกำลังอ่านอยู่ท่านสามารถนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้กับธุรกิจได้ เช่น เฮลท์เทค สตาร์ทอัพ มองว่าหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย และจำนวนของผู้ป่วยลดลง แต่สิ่งที่สำคัญคือ “ความต้องการบริการทางการแพทย์ทางไกล หรือ เทเลเมดิซีน ไม่ได้ลดลง” ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาสของ เฮลท์เทค สตาร์ทอัพ ในการนำเสนอเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าไปช่วยนั่นเองครับ โดยระบบ เทเลเมดิซีน ยังเป็นมาตรฐาน รองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วยครับ

 

ที่สำคัญคือโรงพยาบาลกำลังมองหาระบบอัตโนมัติ การเชื่อมโยงระบบให้บริการแพทย์ทางไกล และระบบสารสนเทศโรงพยาบาล เช่น

  1. มีระบบออกใบเสร็จอัตโนมัติ 
  2. เชื่อมโยงระบบร้านขายยา 
  3. ระบบขนส่งยาให้ถึงบ้าน และระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ 

ซึ่งในขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการนำร่องเชื่อมโยง API และระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสิทธิ และส่งข้อมูลเบิกผ่านระบบ e-claim ของ สปสช. นั่นเองครับ

 

บริษัทยังได้พัฒนา เฮลท์ สเตชัน (Health Station) หรือแท่นตรวจสุขภาพผ่านทางออนไลน์ให้ด้วย เช่น

  1. ให้กับพระสงฆ์ใช้ตรวจสุขภาพ
  2. ขอรับบริการคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านทางออนไลน์ได้ทันที

 

ได้เริ่มนำร่องให้บริการการแพทย์ทางไกลกับพื้นที่ห่างไกล โดยร่วมมือกับร้านยาในพื้นที่ห่างไกล เช่น

  1. ติดตั้งระบบ Health Pod 
  2. สามารถพิมพ์ใบสั่งยาได้
  3. รับยาจากร้านขายยาได้ทันที

 

ให้บริการระบบติดตามสุขภาพต่อเนื่อง (NCDs Personal Health Records) เช่น

  1. กับบุคคลทั่วไป
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 
  3. ตรวจสุขภาพด้วยตนเองที่บ้าน
  4. ให้คำแนะนำในการดูแลผ่านระบบแชต
  5. การเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบโรงพยาบาล (Hospital Information System)

 

นายธีระ กนกกาญจนรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้กล่าวว่า “โควิดเป็นตัวเร่งให้ไทยเข้าสู่เทเลเฮลท์ ทั้งเทเลเมดิซีน และเทเลฟ่าร์มาซีน ทั้งหน่วยงานกำกับดูแล ที่ให้การยอมรับมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันประชาตื่นตัวและใช้เทคโนโลยีเก่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมยาตื่นตัวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้” 

 

ทั้งนี้ หลังจากโควิดคลี่คลายเทเลเฮลท์ยังเติบโตอีกต่อเนื่อง เพราะโควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไม่หาย 100% อย่างแน่นอน และคนก็จำเป็นที่จะต้องใช้ยาในการรักษา ในขณะที่ยังมีโควิดอยู่ ผู้คนก็จะหันมาดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ

 

อย่างไรก็ตามขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมยา กำลังตื่นตัวและเร่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และสร้างความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ ก็สามารถสร้างโอกาสจากสถานการณ์ของโควิด-19 ได้เช่นกันครับ

 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย โดยขณะนี้ยังได้มีโรคฝีดาษลิงเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่เข้ามาในประเทศ หวังว่าผู้อ่านจะสามารถหาวิธีแก้ไขป้องกันการรับมือโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเข้ามาช่วยก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ขึ้นมาได้ครับ ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ





 

---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : thansettakij.com / Poom Ldb