AI ช่วยยกระดับการศึกษาได้อย่างไร
ตั้งแต่ AI (ปัญญาประดิษฐ์) เข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอุตสาหกรรมต่างๆ แต่ AI ยังสามารถช่วยส่งเสริมระบบการศึกษาในหลายๆ ด้านอีกด้วย
ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาผู้อ่านมาดูว่า AI นั้นสามารถช่วยยกระดับการศึกษาได้อย่างไร ซึ่งอาจจะช่วยสร้างไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้อ่าน ที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
1. AI ช่วยเหลืองานธุรการและงานเอกสาร ได้เป็นอย่างดี: สำหรับการช่วยเหลืองานธุรการและงานเอกสาร เช่น
- การช่วยบันทึกข้อมูลการเข้าห้องเรียน
- การเข้าร่วมกิจกรรม
- ตารางเรียนของผู้เรียน
ซึ่งแสดงผลออกมาในรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปประเมินต่อไป รวมถึงการจัดการงานเอกสารอื่นๆ เช่น
- การจัดหมวดหมู่เอกสาร
- การเรียงลำดับเอกสาร
- การเก็บเอกสารในรูปแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยีการรู้จำอักขระด้วยแสง ที่จะช่วยแปลงเอกสารทางกายภาพให้เป็นรูปแบบดิจิทัล ทำให้สามารถค้นหาและเข้าถึงได้ง่าย
2. AI ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: ผู้เรียนที่มีข้อจำกัดที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป รวมถึงอุปสรรคด้านการเรียนภาษาต่างชาติ โดยแอปพลิเคชัน AI จะช่วยให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยกับภาษาต่างชาติ ได้ฝึกออกเสียงและการพูด เพื่อโอกาสในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านภาษา ส่งผลให้การเรียนมีความสุขและเติมเต็มมากยิ่งขึ้น
3. AI ช่วยสร้างเนื้อหาสรุปการเรียนการสอน: ด้วยเทคโนโลยี Generative AI ที่ถนัดในการช่วยสรุปและวิเคราะห์เนื้อหาการสอนให้มีความกระชับ, เข้าใจง่าย, มีบทสรุป และแบบทดสอบให้ฝึกฝนตามระดับทักษะ และยังสามารถช่วยแก้ไขและเร่งพัฒนาทักษะในด้านที่ผู้เรียนไม่เชี่ยวชาญได้
4. AI ช่วยในการประเมินและการให้คำติชม: เนื่องจาก AI สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูผู้สอนในการประเมินนักเรียนอย่างครอบคลุม ในหลากหลายมุมมองแบบเรียลไทม์ ฉะนั้นด้วยอัลกอริทึมที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลผลการเรียน ระบุจุดแข็งและจุดอ่อน และพร้อมให้คำติชมอย่างละเอียดในส่วนที่ต้องปรับปรุงแก่นักเรียน
ดังนั้น ในส่วนนี้จะเป็นการเพิ่มความเอาใจใส่และส่งเสริมการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งให้กับผู้เรียน จากคำติชมที่ทันท่วงทีและผู้สอนสามารถช่วยแก้ไขและเร่งพัฒนาทักษะในด้านที่ผู้เรียนไม่เชี่ยวชาญได้!
5. ระบบติวเตอร์อัจฉริยะ: AI สามารถทำหน้าที่เป็นติวเตอร์ช่วยเหลือด้านการเรียนตลอด 24 ชั่วโมงกับผู้เรียนแบบเรียลไทม์ (ที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี) เช่น
- สามารถสนทนาโต้ตอบและให้คำอธิบายกับผู้เรียนได้
- สามารถส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
- สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในกรณีที่อัตราส่วนของครู และอาจารย์ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน
6. การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เฉพาะบุคคล: การสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เฉพาะบุคคลให้กับผู้เรียน ด้วยความอัจฉริยะของอัลกอริทึมที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนแต่ละคนได้ เช่น
- ความชอบ
- วิชาที่ถนัด
- ผลการเรียน
เพื่อปรับเนื้อหาและรูปแบบการเรียนและกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพในชั่วโมงการเรียนที่เหมาะสม
ดังนั้น จะช่วยส่งเสริมจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อน ซึ่งการเรียนรู้เฉพาะบุคคลนี้ ไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ภารกิจของ AI ในภาคการศึกษาที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงตัวอย่างที่เราสมควรพิจารณาเริ่มนำมาทดลองใช้ในสถานศึกษา
ทั้งนี้ ครูและอาจารย์ก็ยังเป็นฟันเฟืองที่สำคัญที่สุดที่มีหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ จริยธรรมอันดี รวมถึงการให้คำแนะนำ
และการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนในสถานศึกษา เพื่อเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพและรอบรู้ต่อไปในอนาคต
“หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย”
---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก: bangkokbiznews.com