เพิ่มยอดขาย เพิ่มฐานลูกค้า ด้วยการปรับ Packaging

เพิ่มยอดขาย เพิ่มฐานลูกค้า ด้วยการปรับ Packaging


เพราะแพ็กเกจจิ้งนั้นก็ช่วงอายุการใช้งาน การออกแบบนั้นไม่ได้หมายความว่าออกแบบมาเพื่อขายและจบกันไป ซึ่งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) นั้นมี 4 ช่วง ดังต่อไปนี้
- ช่วงแนะนำ คือเป็นช่วงเปิดตัวสินค้า ซึ่งอาจมียอดขายต่ำและยังถือว่าเป็นช่วงแรกๆ ของการขายสินค้า และอีกทั้งรวมไปถึงอาจมีคู่แข่งและไม่มีคู่แข่งในท้องตลาดก็ได้เช่นกัน
- ช่วงเติบโต ถือว่าเป็นช่วงที่สินค้าเริ่มรู้จักในตลาด ซึ่งเป็นช่วงที่สินค้ากำลังได้รับการยอมรับและเป็นช่วงที่ยอดขายได้เติบโตขึ้น
- ช่วงอิ่มตัว ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ยอดขายนั้นเริ่มนิ่ง ซึ่งอาจมีคู่แข่งเข้ามาและอาจแย่งลูกค้าจากตลาดสินค้าของเราไปได้
- ช่วงลดลง ยอดขายมีการลดลงเนื่องจากไม่มีความพัฒนา ปรับปรุงและการแก้ไขในส่วนของสินค้า การไม่รักษาคุณภาพหรือการออผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อาจทำให้แบรนด์เข้าสู่ภาวะขาดทุนได้

และเคล็ดลับในการปรับแพ็กเกจจิ้ง มีดังต่อไปนี้

เจาะตลาดใหม่ 
หากสินค้ามีความอิ่มตัว หรือเริ่มมีคู่แข่งเข้ามา เราอาจทำการสร้างแพ็กเกจจิ้งขึ้นมาใหม่ เพื่อส่งออกไปที่ต่างจังหวัดหรือตลาดสินค้าอื่นๆ (ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเรา) หรืแม้แต่การส่งออกต่างประเทศด้วย การกำหนดจุดประงสงค์และกลุ่มเป้าหมายใหม่ ปรับเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งก็สามารถดึงดูดให้ลูกค้าใหม่เกิดความสนใจในสินค้าของเราได้

ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่
ยกตัวอย่างเช่น มีชาเขียวแบรนด์หนึ่งที่ทำฉลากและฝาเป็นสีเหลือง เป็นการสร้างความเข้าใจแก่ลูกค้าว่าสิ่งนั้นคือรสชาติอะไร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ตรงกันมานานและขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เมื่อออกผลิตภัณฑ์ใหม่จึงทำให้แพ็กเกจจิ้งนั้นมีสัญลักษณ์บ่งบอกคล้ายเดิมนั่นเอง เพราะต้องคงรูปแบบเดิมเอาไว้เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับสินค้าชิ้นเดิมและเพื่อให้ลูกค้าสามารถจดจำเราได้ด้วย

ส่งเสริมการขาย
แบรนด์ระดับยักษ์ใหญ่นั้นมักจะมีการออกแบบแพ็กเกจจิ้งขนาดทดลองใช้ แล้วนำไปแจกตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่สนใจได้ทดลองใช้ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการตลาดอีกอย่างหนึ่งและเป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมการขายอีกด้วย หรือการเพิ่มแพ็กเกจจิ้งตามวันสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายในช่วงวันนั้นๆ ด้วย

เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย
เพราะช่องทางการจัดจำหน่ายที่เปลี่ยนไป ด้วยระยะทางหรือสิ่งอื่นใดก็ตามแต่ การออกแบบแพ็กเกจจิ้งต้องให้คงทนและเหมาะสมกับสินค้าและสถานที่จัดจำหน่าย ตัวอย่างเช่น เดิมที สินค้าของเราอาจนำไปใส่กล่องได้ 24 ชิ้น หลังจากปรับเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้งให้ดีขึ้นแล้ว สามารถนำไปใส่กล่องขนาดเดิมได้ถึง 48 ชิ้น จากเดิมที่เคยใช้รถบรรทุก 10 คันในการขนส่ง ก็อาจจะเหลือเพียงแค่ 5 คัน เป็นต้น








ที่มา : smethailandclub