ฟิลิปส์เผย 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้าน healthcare ในปี 2023
ถึงแม้เทคโนโลยีจะถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด เพื่อมาเป็นตัวช่วยในการทำงานผู้คนให้ง่ายและแม่นยำขึ้น แต่ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น และความผันผวนทางเศรษฐกิจล้วนเป็นปัจจัยที่ท้าทายผู้ให้บริการทางสาธารณสุขทั่วโลก ในการดำเนินงาน และคิดค้นรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยใหม่ๆ นั่นเอง
ด้านผู้บริหารแถวหน้าในวงการ health care (เฮลท์แคร์) ได้ตระหนักถึงระบบสาธารณสุข ตลอดความจำเป็นในการลดก๊าซคาร์บอนในอุตสาหกรรมเพื่อการรักษาสุขภาพของโลกเช่นกัน
ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองต่อความท้าทายข้างต้น ฟิลิปส์จึงได้รวบรวม 10 เทรนด์เทคโนโลยีเฮลท์แคร์ที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2023 นี้
1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพของประชากร :
ด้านบริษัทเครื่องมือแพทย์และบริษัทเทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ได้เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการเปลี่ยนแปลงใช้ที่ดิน มลพิษ การบริโภค และการปล่อยก๊าซพิษ
ฉะนั้นด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศที่ดีต่อสุขภาพของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น คาดว่าจะเห็นแนวโน้มการประยุกต์ให้ในวงการเฮลท์แคร์ ด้านการ "ประเมินต้นทุนทางธรรมชาติ" เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีขึ้น
2. ลดคาร์บอนในวงการเฮลท์แคร์ให้สอดคล้องกับการตั้งเป้าตามหลัก science-based :
ผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก และพยายามลงมือทำบางอย่างเพื่อรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว
โดยบริษัทเครื่องมือแพทย์และบริษัทเทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์มีการตั้งเป้ากำหนดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนตามหลัก science-based
3. การหมุนเวียน คือ กลยุทธ์ในการลดผลกระทบต่อสภาพอากาศของผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข :
อุตสาหกรรมด้านเฮลท์แคร์มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คิดเป็นร้อยละ 4 ของการปล่อยก๊าซทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งมากกว่าอุตสาหกรรมการบิน หรือการขนส่งเสียอีก และยังทำให้เกิดขยะจำนวนมากเสียอีก
ฉะนั้นผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ที่ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืน จึงมองหาเทคโนโลยีเฮลท์แคร์ที่สามารถช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมนี้ได้
ซึ่งในเทคโนโลยีเฮลท์แคร์ "การหมุนเวียน" เกี่ยวข้องกับกระบวนการเกี่ยวกับเครื่องมือทางการแพทย์แต่การประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านสมาร์ทดิจิทัลก็ยังสามารถช่วยให้ระบบดูแลสุขภาพสามารถลดการใช้ทรัพยากรการผลิต เพื่อส่งมอบประโยชน์สูงสุดโดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด
4. มุ่งเน้นที่การส่งมอบบริการทางสาธารณสุขที่ครอบคลุมและเท่าเทียมกันมากขึ้น :
ตัวอย่างเช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เร่งให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านเฮลท์แคร์เร็วขึ้น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ชนบท
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบางบางกลุ่ม และยังส่งผลให้เกิดช่องว่างด้านสุขภาพทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น ความไม่เท่าเทียมด้านการเข้าถึงระบบสาธารณสุขทั้งภายในและระหว่างประเทศ เช่น อัตราการเจ็บป่วยที่สูงกว่าในบางเชื้อชาติ และบางกลุ่มชาติพันธุ์กำลังเป็นที่สนใจมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงทำให้ทั่วโลก พยายามหาทางออกในการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในระบบสาธารณสุข ซึ่งจากการรายงาน Future Health Index 2022 report ได้เผยว่าผู้นำในวงการเฮลท์แคร์ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญด้านความเท่าเทียมทางสาธารณสุขเป็นอันดับแรก
5. การติดตามอาการผู้ป่วยอย่างไร้รอยต่อทั้งในและนอกโรงพยาบาล :
การใช้งานโซลูชันดิจิทัลบนคลาวด์ในวงการสาธารณสุขจะช่วยสนับสนุนการแชร์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น และสร้างรากฐานของระบบสาธารณสุขที่สามารถเชื่อมต่อจากโรงพยาบาล ไปสู่บ้านผู้ป่วยและชุมชนได้
6. เฮลท์แคร์กำลังย้ายไปอยู่บนคลาวด์ (Cloud) :
คลาวด์เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในการเชื่อมต่อ และบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานไอทีด้านเฮลท์แคร์ เมื่อโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นต้องมีความปลอดภัยระดับสูงและสามารถรองรับข้อมูลปริมาณมากๆ ได้ เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูล
7. โซลูชันด้านสารสนเทศ (Informatics solutions) ที่เป็นกลางและสามารถทำงานร่วมกับหลากหลายเครื่องมือหรือระบบได้ :
เนื่องจากระบบสาธารณสุขมีการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ระบบอุปกรณ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันจำเป็นต้องสามารถ "เชื่อมต่อ" ถึงกันได้เพื่อสร้างประสบการณ์ไร้รอยต่อ สำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์
ฉะนั้นการนำโซลูชันด้านสารสนเทศที่เป็นกลาง และสามารถทำงานร่วมกับหลากหลายเครื่องมือหรือระบบได้มาใช้มากขึ้นในปี 2023 และในอนาคต
8. การปฏิบัติงานทางไกล (Remote Operations) ผ่านการทำงานร่วมกันออนไลน์ (Virtual Collaboration) :
นี่เป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ที่ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น หลังจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัจจุบันได้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักในวงการเฮลท์แคร์ เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น
9. การเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมและการศึกษาอย่างต่อเนื่อง :
สำหรับระบบการทำงานอัตโนมัติสามารถช่วยลดภาระงานที่มากเกินไปในแต่ละแผนกของโรงพยาบาลได้ แต่บุคลากรทางการแพทย์ยังจำเป็นต้องได้รับความรู้ และการฝึกอบรมที่เหมาะสม เพื่อให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
10. การแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้วยระบบการทำงานอัตโนมัติ (Workflow Automation) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) :
จากรายงาน Philips Future Health Index 2022 report เผยว่าปัญหาด้านบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกๆ ของผู้บริหารในวงการเฮลท์แคร์ และหากไม่จัดการกับปัญหานี้อย่างเร่งด่วน ภาวะหมดไฟและการขาดแคลนบุคลากรจะส่งผลให้ระบบสาธารณสุขอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับ 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้าน health care ปี 2023 จากการเปิดเผยของ ฟิลิปส์เผย หวังว่าจะเป็นประโยชน์สร้างไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนในสังคมได้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้าน health care ปี 2023 ได้ที่ : ฟิลิปส์เปิด 10 เทรนด์เทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์ของปี 2023
--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : ryt9.com