การนำเทคโนโลยีดิจิทัลรวมถึง เอไอ  มาใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ดีอย่างไร  (ในการดันไทยไปสู่ Medical Hub)

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลรวมถึง เอไอ มาใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ดีอย่างไร (ในการดันไทยไปสู่ Medical Hub)

แน่นอนครับประเทศไทยเป็นที่ยอมรับทางด้านการแพทย์เพราะอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยนั้นได้ถูกพัฒนาไปอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการรักษาหรือด้านบริการที่ครอบคลุม ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าประเทศไทยได้รับการชื่นชมด้าน Medical Tourism 

 

ดังนั้น Krungthai COMPASS ได้มองว่าการผลักดันไทยก้าวสู่ Medical Hub อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากจะช่วยดึงเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศแล้ว ยังเพิ่มการจ้างงาน และที่สำคัญยังเชื่อมโยงไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้อีกมากมาย

 

อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์นั้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการวินิจฉัยและรักษาได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

 

องค์ประกอบสำคัญที่ภาครัฐสนับสนุนให้ขับเคลื่อนเป็น Medical Hub ได้แก่

  1. ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub)
  2. ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ (Product Hub)
  3. ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub)
  4. ศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ (Medical Service Hub)

 

ด้านการแข่งขันบริการทางการแพทย์

พบว่าไทยนั้นมีข้อได้เปรียบหลายด้าน เช่น การเปิดประเทศที่มีเงื่อนไขที่น้อย ดังนั้นผู้ป่วยต่างชาติจะสามารถเข้ามาได้เกือบทั้งหมด อีกทั้งภาครัฐได้มีนโยบายผลักดันไทยเป็น Medical Hub นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดี และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือต้องได้มาตรฐานทั้งระบบ ซึ่งจะเน้นเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลัก

 

ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลเอกชนก็เป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากถึงมากที่สุด เพราะว่ามีการให้บริการทางการแพทย์คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 65% นี่จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ และศักยภาพในการผลักดันดิจิทัลเฮลท์แคร์ ศูนย์กลางทางการแพทย์ และตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

 

การรักษามาตรฐาน และอัประบบให้ทันสมัย    

นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ได้เปิดเผยมุมมองโดยกล่าวว่า : การใช้ดิจิทัลที่ผ่านมาได้มีการใช้อย่างแพร่หลาย ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีทางการแพทย์ก็ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัยขึ้นตามเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนา อีกทั้งข้อมูลต่างๆ ก็ถูกเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคโควิด-19 ที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก ทำให้ระบบเทเลเมดิซีนถูกบังคับให้พัฒนา

 

ทั้งนี้เทคโนโลยีทุกอย่างต้องมีการเปลี่ยนระบบให้ทันสมัย เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น โดยการรักษาทีเดียวจบ ซึ่งหลังจากนี้โรงพยาบาลเอกชนไทยต้องปรับปรุงเทคโนโลยี ที่สำคัญต้องคงความนิยมของลูกค้าทั้งในและนอกประเทศไว้

 

อย่างไรก็ตาม Medical Hub ได้เกิดขึ้นมานานแล้วแต่สิ่งที่ต้องเตรียมต่อไป คือ ด้านบุคลากรที่มีเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผลิตบุคลากร ฝ่ายเตรียมคน ฝ่ายลงทุน และการผลิตผู้เชี่ยวชาญ ต้องร่วมมือกัน เป็นภาพรวมระดับประเทศ!

 

3 ข้อได้เปรียบของไทย

3 ข้อได้เปรียบ คือ การบริการ ราคาที่ถูก และแพทย์ไทยที่เรียนเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มาตรฐานทางการแพทย์สูงเหมือนกับแพทย์ที่จบจากสหรัฐอเมริกา และข้อได้เปรียบอีกข้อที่สำคัญนอกเหนือจาก 3 ข้อคือการส่งเสริมของภาครัฐในเรื่อง Medical Hub เป็น New S-Curve 

 

สิ่งที่ผู้ป่วยต่างประเทศต้องการใช้บริการทางการแพทย์ในไทย

  1. การรักษา เช่น โรคหัวใจในกลุ่มประเทศ CLMV รักษาโรคมะเร็ง รักษาแผลเบาหวาน

  2. เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ ในกลุ่มตะวันออกกลาง

  3. อื่นๆ เช่น ศัลยกรรม การทำเด็กหลอดแก้ว ฯลฯ 

 

อย่างไรก็ตามได้มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาด "ท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทย" จะขยายตัวหลังโควิด-19 ลดลงแตะระดับ 7.6 แสนล้านบาทในปี 2027 หรือเติบโตเฉลี่ย 13.2% ต่อปี

 

และในปี 2022 จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยกว่า 9.5 ล้านคน โดยแบ่งเป็น 8-12% เป็น Medical Tourism และผู้ป่วยต่างชาติที่จะเข้ามาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตะวันออกกลางกว่า 70%



 

 

 

 

 

 

-Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : angkokbiznews