คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ต้องเป็นอย่างไร

คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ต้องเป็นอย่างไร

หลังจากบทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงหลักการออกแบบด้วยเทคนิคต่างๆ เทรนด์การออกแบบ และทุกๆ อย่างเกี่ยวกับงานด้านศิลปะ ที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพื่อที่จะสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้คนในสังคมต่อไป

 

ฉะนั้นบทความนี้เราจึงถือโอกาสพาผู้อ่านมารู้จักกับ “คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ต้องเป็นอย่างไร” ที่อาจจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านได้เกิดไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จในสิ่งที่รักต่อไป ดังนั้นคุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ต้องเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยยยย.

ขอบคุณภาพจาก : BlogGang.com (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น 1 ใน 4 ศิลปินแห่งชาติรุ่นแรก ปี 2528)
 

ศิลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย 

สำหรับศิลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม ศิลปินแห่งชาตินับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติจากอดีตถึงปัจจุบันและดำรงสืบไปในอนาคต

 

สำหรับวันศิลปินแห่งชาตินั้น ได้เริ่มขึ้นจากคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยได้มีมติกำหนดให้ “วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2528

 

โดยนับเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถด้านศิลปกรรมต่างๆ ทั้งด้านวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง

 

ผู้ที่จะเป็นศิลปินแห่งชาติได้นั้น จะต้องผ่านการคัดเลือก โดยเป็นผู้ที่มีผลงานด้านศิลปะชั้นเยี่ยม จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งจะประกาศยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติเป็นประจำทุกปี

 

เพื่อรำลึกและเทิดพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รวมทั้งเชิดชูศิลปินไทย ผู้เป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญที่สร้างงานศิลปะให้กับประเทศชาติ นั่นเอง

 

ขอบคุณภาพจาก : FB. สถาบันคึกฤทธิ์ Kukrit Institute (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็น 1 ใน 4 ศิลปินแห่งชาติรุ่นแรก ปี 2528)

 

คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ต้องเป็นอย่างไร

  1. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
  2. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
  3. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
  4. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
  5. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
  6. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
  7. เป็นผู้ที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับของวงการศิลปินแขนงนั้น

 

สาขาศิลปินแห่งชาติ

สำหรับสาขาศิลปินแห่งชาติ สามารถจำแนกได้ 4 สาขา ดังนี้

1.สาขาวรรณศิลป์

2.สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม

3.สาขาทัศนศิลป์

4.สาขาศิลปะการแสดง คือ ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิม หรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่

    1.การละคร ประกอบด้วย ละครรำ ฯลฯ

    2.การดนตรี แบ่งออกเป็นดนตรีไทย และดนตรีสากล ได้แก่

        2.1นักดนตรี

       2.2นักร้อง

       2.3นักประพันธ์เพลง

       2.4ผู้อำนวยเพลง

       2.5ผู้ผลิตเครื่องดนตรี

    3.การแสดงพื้นบ้าน ฯลฯ

 

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

สำหรับผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทนจากกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม ดังนี้

  1. เงินช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิตเพื่อร่วมบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท
  2. ค่าตอบแทนรายต่อเดือนตลอดระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่ 25,000 บาทต่อเดือน
  3. ค่าช่วยเหลือเมื่อประสบภัยเท่าที่เสียหายจริง ไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง
  4. ค่าของเยี่ยมในยามเจ็บป่วย หรือโอกาสสำคัญเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 3,000 บาทต่อครั้ง
  5. เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 150,000 บาท
  6. ค่ารักษาพยาบาลว่าด้วยเงินสวัสดิการ (เว้นแต่มีสิทธิเบิกจากหน่วยงานอื่นโดยให้เบิกจากหน่วยงานนั้นก่อน ถ้าเบิกจากหน่วยงานนั้นได้ต่ำกว่าสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาให้มีสิทธิเบิกในส่วนที่ยังขาดอยู่ได้อีกภายในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อปีงบประมาณ)

 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ










 

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก : th.wikipedia.org / prachachat.net