กฏการจัดวางองค์ประกอบ ให้ผลงานออกมาสวยเป๊ะ (ตอนที่ 1)

กฏการจัดวางองค์ประกอบ ให้ผลงานออกมาสวยเป๊ะ (ตอนที่ 1)


องค์ประกอบต่างๆ ที่ถูกประกอบขึ้นในชิ้นงานแต่ละชิ้นนั้น จะช่วยทำให้งานของเราดูดีและมีความน่าสนใจมาก และหากมีการจัดวางองค์ประกอบที่ผิดหรือพลาดไป ก็จะทำให้ผลงานชิ้นนั้นไม่สวยงาม ผิดองค์ประกอบและไม่น่าสนใจ ดังนั้นการจัดวางองค์ประกอบจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากกับนักออกแบบ เพื่อให้งานออกแบบนั้นออกมาสวยงาม ตามที่ต้องการและสมบูรณ์ที่สุด

1.หาจุดที่จะโฟกัส
เพราะจุดโฟกัสจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้มีผู้ที่มาสนใจผลงานของเราเป็นอันดับแรก ดังนั้นต้องหาว่าส่วนใดคือส่วนประกอบหลักที่เราจะโฟกัส ไม่ว่าจะเป็นการสื่อความหมายต่อผู้รับสาร การเลือกสื่ออารมณ์จากการใช้สี หรืออื่นๆ เป็นต้น อีกทั้งตัวเลือกของจุดโฟกัสยังมีให้เลือกอีกมากมาย อาจมีการใช้เทคนิคเส้น รูปร่าง ความคมชัด หรือการเลือกใช้สี เป็นต้น

ตัวอย่าง
โปสเตอร์ของ Shauna Lynn Panczyszyn ที่มีการเน้นจุดโฟกัสไปที่รูปภาพคุณปู่ที่นั่งอยู่ โดยใช้วิธีนำกราฟิกมาวางอยู่บนภาพถ่ายเพื่อให้จุดโฟกัสนั้นไปที่ตรงจุดกึ่งกลาง

 

2.นำสายตาด้วยเส้น
จุดนำสายตาจะช่วยนำพาเราไปยังจุดโฟกัสได้ดี เปรียบเสมือนการนำนิ้วไปชี้ที่ใดสักที่ และเส้นตรงที่อยู่ในผลงาน จะช่วยควบคุมสายตาของผู้ที่เข้ามาชมผลงานของเราได้อีกด้วย โดยการนำเส้นตรงชี้ไปยังจุดที่โฟกัส และให้เส้นตรงนั้นทำหน้าที่ของมันเอง นั่นเป็นเพราะว่าเส้นนำสายตานี้จะนำพาสายตาของผู้ชมให้ไปตามจุดโฟกัส 

ตัวอย่าง
ภาพข้างล่างนี้ทำให้เราได้เห็นอย่างชัดเจนว่า เส้นนั้นสามารถนำพาเราไปยังจุดโฟกัสได้ 

 

3.ขนาดและลำดับความสำคัญ
เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบคือ ขนาดและลำดับความสำคัญ เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้เพื่อให้การสร้างผลงานนั้นออกมาดีที่สุด สำหรับลำดับความสำคัญนั่นก็คือการจัดเรียงองค์ประกอบเพื่อให้ผู้ชมนั้นได้เห็นถึงความสำคัญในชิ้นงานเหล่านั้น เมื่อสิ่งนั้นมีความสำคัญมากก็อาจจะต้องมีองค์ประกอบที่มีขนาดใหญ่ และองค์ประกอบที่เล็กลงมาก็จะมีความสำคัญที่น้อยลงมา เป็นต้น

ลำดับความสำคัญมีความจำเป็นมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ควรมีการจัดลำดับตัวหนังสือเพื่อให้สื่อถึงความหมายและความสำคัญของเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน

 

ตัวอย่าง
โปสเตอร์ของ Scott Hansen ที่มีการจัดสัดส่วนของภาพไว้เป็นอย่างดี เมื่อมีการเลือกลดขนาดของเงาคนให้มีขนาดที่เล็กลงแล้ว ทำให้เราเห็นส่วนของภูเขาและพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นมาทันที

 

4.สมดุลขององค์ประกอบ
เมื่อผลงานมีความสมดุล ผลงานชิ้นนั้นจะมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น การสร้างความสมดุลนั้นคือ เราจะต้องมีการออกแบบให้มีสัดส่วนที่พอดีกัน เช่น สมดุลซ้ายขวา สมดุลบนล่าง เป็นต้น เหล่านี้นั้นจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน

ตัวอย่าง
ผลงานของ Jennifer Wick ที่มีการจัดสมดุลองค์ประกอบ ที่มีความสมดุลทั้งบนล่าง และซ้ายขวา  ซึ่งเป็นการจัดวางองค์ประกอบที่มีความสวยงามและดูสะอาดตา

 

5.ใช้องค์ประกอบเพิ่มเติม
การเลือกใช้องค์ประกอบที่ดีและถูกต้อง จะช่วยส่งเสริมให้งานของเรานั้นดูดีขึ้น และทราบหรือไม่ว่ายังมีองค์ประกอบอีกมากมายที่เมื่อเราทำการใช้งานแล้วกลับทำให้ผลงานของเราดูแย่ลง ดังนั้นควรมีความระมัดระวังในการเลือกใช้องค์ประกอบเพิ่มเติมเหล่านั้น เพราะว่าอาจทำให้ผลงานนั้นแย่ลงกว่าเดิมได้

ตัวอย่าง
การใส่สีลงไปในภาพให้มีทิศทางโทนเดียวกัน ซึ่งจากภาพทำให้เห็นว่าเมื่อภาพมีโทนสีเดียวกันก็จะส่งเสริมให้งานนั้นออกมาดูดีได้อีกด้วย 

 

สำหรับกฏการจัดวางองค์ประกอบอีก 5 ข้อที่เหลือจะตามมาใหม่ในบทความถัดไป อย่าลืมติดตามกันนะคะ

 





ที่มา : grappik