ใช้เทคโนโลยีมากเกินไปจะส่งผลอย่างไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

ใช้เทคโนโลยีมากเกินไปจะส่งผลอย่างไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

ปัจจุบันนี้ไม่อาจที่จะปฏิเสธไปได้เลยว่าเทคโนโลยีนั้นได้สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้คนในสังคมได้อย่างมาก เช่นสมาร์ทโฟนที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญของมนุษย์ไปแล้ว เช่น การติดต่อสื่อสาร, การแจ้งเตือน, บันเทิง, การทำงาน และการค้นหาข้อมูล

 

นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่เทคโนโลยีนั้นช่วยขับเคลื่อนให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นง่ายขึ้น และค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่คาดไม่ถึง 

 

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อรู้ข้อดีเราก็ต้องมาเรียนรู้ข้อเสียด้วย เช่นหากเราอยู่แต่กับโลกอินเทอร์เน็ตมากอาจนำไปสู่ภาวะเสื่อมถอยของสมองด้านการเรียนรู้และความจำจากการพึ่งพาสื่อดิจิทัล หรือ “Digital Dementia” ได้ นั่นเอง

 

1. สมาธิสั้น จากการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน

เดวิด โคปแลนด์ (รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการเหตุผลและความจำของมหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส ในสหรัฐ) ได้กล่าวว่า 

 

“มนุษย์นั้นไม่ได้ถูกสร้างมาให้ทำงานหลายอย่างพร้อมกัน และเมื่อเราพยายามจะทำหลายๆ สิ่งไปพร้อมกัน เรามักจะเปลี่ยนความสนใจจากงานหนึ่งไปอีกงานหนึ่งอย่างรวดเร็ว แทนที่จะโฟกัสที่งานที่สำคัญที่สุดก่อน และท้ายที่สุดนั้นผลที่ออกมากลายเป็นว่า งานที่ออกมานั้นไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร”
 

ข้อมูลจากการวิจัยศึกษา

สำหรับข้อมูลการศึกษาในปี 2018 พบว่า การเสพสื่อหลายช่องทางพร้อมกัน อาจส่งผลให้การควบคุมสมาธิลดลง และจิตใจฟุ้งซ่านเพิ่มขึ้น และการปล่อยให้เด็กอยู่หน้าจอนานๆ ยังทำให้เด็กมีปัญหาพัฒนาทางสมองและด้านภาษา การสื่อสาร และทักษะด้านการคิดอีกด้วย

 

อย่างไรก็ตาม อาจฟังดูเหมือนว่าการใช้เทคโนโลยีจะเป็นตัวทำลายทักษะด้านการคิดของผู้ใช้งานได้สารพัดอย่าง  

 

แต่ถึงกระนั้นทีมนักวิจัยยังคงทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น ว่าอะไรที่ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของสมองในระยะยาว และตรงกับความหมายของภาวะสมองเสื่อม (Dementia) จริงหรือไม่!

 

2. สมองไม่ได้ใช้งาน เพราะใช้แต่เทคโนโลยี

โคปแลนด์ กล่าวว่า : “ในตอนนี้ผู้คนได้หันไปใช้อุปกรณ์ส่วนตัวในการเก็บข้อมูลต่างๆ มากขึ้น แทนที่จะใช้การจดจำและท่องจำข้อมูลเหล่านั้นด้วยตนเอง 

 

ดังนั้นทักษะในการท่องจำของเราอาจลดลง และเมื่อนานวันเข้าความพยายามในการเรียนรู้ของสมองอาจลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้”

 

ด้านของ แมนเฟร็ด สปิตเซอร์ ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ ได้ระบุว่า การใช้งานสื่อดิจิทัลที่มากเกินไป จะส่งผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพของสมอง และส่งผลกระทบรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน 

 

เนื่องจากมีเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการจดจำ จนสมองเราแทบไม่ได้ใช้งาน ดังนั้นเมื่อมีเครื่องทุ่นแรงแถมประหยัดเวลา ก็ควรจะใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ทักษะความจำของเราแย่ลง นั่นเอง

 

3. โซเชียลดีท็อกซ์ ช่วยคุณได้

การใช้สื่อดิจิทัลมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียได้ อย่างน้อยที่สุดก็ทางด้านอารมณ์ที่อาจทำให้เกิดความหดหู่ อารมณ์ขุ่นมัว จากการเสพสื่อที่มากเกินไป 

 

ดังนั้น ลดการพึ่งพาและใช้เวลากับเทคโนโลยีให้น้อยลง ปรับสมดุลให้กับชีวิตด้วยวิธีที่เรียกว่า “โซเชียลดีท็อกซ์” ได้

 

ซึ่งจากการศึกษาในปี 2019 พบว่า โซเชียลดีท็อกซ์ ไม่ว่าจะเป็นแบบงดใช้โดยสิ้นเชิง หรือจำกัดเวลาใช้งานนั้น สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานได้ แถมช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น มีอารมณ์ดีขึ้น นอนหลับสบาย และวิตกกังวลน้อยลง นั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม โซเชียลดีท็อกซ์นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว โดยแต่ละคนนั้นสามารถออกแบบให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตนเองได้ เช่น บางคนไม่ใช้งานสมาร์ทโฟนเลย บางคนสัปดาห์ละครั้ง บางคนใช้ในการสื่อสารเท่านั้น หรือการกำหนดระยะเวลาใช้งานในแต่ละวัน

 

โดยทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นโซเชียลดีท็อกซ์ด้วยเช่นกัน เพราะถึงแม้ว่าจะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่ก็สามารถช่วยบรรเทาผลกระทบที่เป็นอันตรายของเทคโนโลยีต่อการรับรู้ของสมอง และความเป็นอยู่โดยรวมได้เหมือนกัน!

 

ทั้งนี้ โซเชียลดีท็อกซ์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถใช้งานได้ดี ที่สามารถป้องกันผลกระทบที่ไม่คาดคิดในระยะยาวได้ นั่นเอง 
 

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม…..เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีมากเกินไป ทำ “สมองเสื่อม” ได้






 

---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : bangkokbiznews.com