AR คืออะไร

AR คืออะไร

บทความนี้เราจะพามารู้จักกับ AR คืออะไรถูกนำไปใช้งานอย่างไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ซึ่งมีหลายคนมากที่สับสนว่า AR และ AI มีความแตกต่างกันอย่างไรซึ่งเราได้อธิบายไว้แล้วสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ AR และ AI แตกต่างกันอย่างไร ฉะนั้นเราไปดูกันเลยว่า AR คืออะไร

 

ระบบ AR จำลองภาพเสมือนจริง

Augmented Reality (AR) คืออะไร

AR (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีผสมผสานโลกเสมือนที่เพิ่มเข้าไปในโลกจริง เพื่อทำให้ใกล้เคียงความเป็นจริงให้ได้มากที่สุด โดยการผสมผสานระหว่างความเป็นจริงและโลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ

 

เรียกได้ว่าเป็นการสร้างอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน เช่น ตัวอักษร กราฟิก ข้อความ รูปทรงสามมิติ และวิดีโอ เพื่อให้ผนวกทับซ้อนกับภาพบนโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง เช่น ถ่ายวิดีโอฉากใดฉากหนึ่งมาแล้วทำการสร้างรูปกราฟิก 3 มิติผสมลงไปในฉลากวิดีโอที่เราถ่ายมา โดยการผสมผสานนี้เรียกว่าโลกเสมือนผสานโลกจริง

 

อย่างไรก็ตามประโยชน์หลักของ AR คือสามารถผสมผสานองค์ประกอบดิจิทัลและสามมิติ (3D) เข้ากับการรับรู้ของแต่ละคนเกี่ยวกับโลกแห่งความเป็นจริง AR มีการใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่ช่วยในการตัดสินใจไปจนถึงความบันเทิง

 

ตัวอย่าง AR ที่ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย

  1. ด้านโบราณคดี : AR ถูกนำไปช่วยในการวิจัยโบราณคดี ซึ่งช่วยในการสร้างไซต์ขึ้นมาใหม่ โดยโมเดล 3 มิติช่วยให้ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และนักโบราณคดีในอนาคตได้สัมผัสกับสถานที่ขุดค้นราวกับว่าพวกเขาอยู่ที่นั่น
  2. ด้านการทหาร : โดยข้อมูลสามารถแสดงบนกระจกหน้ารถซึ่งระบุทิศทางปลายทาง ระยะทาง สภาพอากาศ และสภาพถนนได้
  3. ด้านสถาปัตยกรรม : AR สามารถช่วยให้สถาปนิกเห็นภาพโครงการก่อสร้างได้
  4. ด้านเครื่องมือและการวัด : อุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถใช้ AR เพื่อวัดจุด 3 มิติต่างๆ ในสภาพแวดล้อมของผู้ใช้ได้
  5. ด้านการนำทาง : สามารถใช้ AR เพื่อซ้อนทับเส้นทางไปยังปลายทางของผู้ใช้ผ่านมุมมองสดของถนนได้ อีกทั้ง AR ที่ใช้สำหรับการนำทางยังสามารถแสดงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจในท้องถิ่นในสภาพแวดล้อมของผู้ใช้งานได้ทันที
  6. ด้านความบันเทิงและการเล่นเกม : สามารถใช้ AR เพื่อวางซ้อนเกมเสมือนจริงในโลกแห่งความเป็นจริง หรือให้ผู้ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวบนใบหน้าของตนเองในรูปแบบต่างๆ และสร้างสรรค์บนโซเชียลมีเดียได้
  7. ด้านการตัดสินใจ : ตัวอย่างเช่นผู้บริโภคสามารถใช้แอปออนไลน์ของร้านค้าเพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์ เช่น โต๊ะเครื่องแป้ง ว่าจะมีลักษณะอย่างไรในบ้านของตนก่อนตัดสินใจซื้อนั่นเอง

 

โดยรวมแล้วสามารถนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ได้อีกมากมายตัวอย่างเช่น กองทัพสหรัฐฯ ใช้ AR ในเลนส์ใกล้ตาที่เรียกว่า Tactical Augmented Reality (TAR) TAR ติดตั้งบนหมวกกันน็อกของทหาร ซึ่งจะช่วยในการระบุตำแหน่งของทหารคนอื่นๆ ได้นั่นเอง

 

องค์ประกอบของเทคโนโลยีเสมือนจริง

องค์ประกอบของเทคโนโลยีเสมือนจริงจะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่

  1. Display : เป็นจอแสดงผล ที่สามารถทำให้เห็นข้อมูลที่ AR Engine ที่ส่งมาให้ในรูปแบบของวิดีโอหรือภาพได้!
  2. AR Engine : ซึ่งเป็นตัวส่งข้อมูลที่อ่าน โดยได้ผ่านเข้าส่วนประมวลผลหรือซอฟต์แวร์ เพื่อแสดงเป็นภาพต่อไป
  3. Eye : หรือกล้องโทรศัพท์มือถือ กล้องเว็บแคม กล้องวิดีโอ หรือตัวจับ Sensor อื่นๆ ซึ่งจะใช้ในการมองตำแหน่งของ AR Code จากนั้นจะส่งข้อมูลเข้า AR Engine
  4. AR Code : หรือตัว Marker จะใช้ในการกำหนดตำแหน่งของวัตถุ

 

คาดการณ์อนาคตของเทคโนโลยี AR

เทคโนโลยี AR เติบโตอย่างต่อเนื่องจากความนิยมและความคุ้นเคยของแอปฯ และเกม ตัวอย่างเช่น Pokemon Go หรือแอป AR โดยการขยายเครือข่ายอย่าง 5G ก็เป็นตัวแปรที่สำคัญทำให้รองรับประสบการณ์ความเป็นจริงเสริมบนคลาวด์ได้ง่ายขึ้น เช่นการจัดหาแอปพลิเคชัน AR ด้วยความเร็วข้อมูลที่สูงขึ้นและความหน่วงที่ต่ำกว่า    

 

อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าที่ทันสมัยภายใต้การพัฒนา เช่น แว่นตาอัจฉริยะของ Google ที่มีการแปลเสียงเป็นข้อความจะเป็นการปฏิวัติวิธีที่ผู้คนพูดภาษาต่างๆ ในการสื่อสารกัน

 

เนื่องจาก AR ใช้เทคโนโลยีที่สมจริง จึงมีโอกาสมากขึ้นและสร้างประสบการณ์มากขึ้นในแพลตฟอร์มและประเภทสื่อต่างๆ นั่นเอง

 

เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า AR นั้นมีประโยชน์อย่างไรซึ่ง AR นั้นมีรายละเอียดที่มากกว่านี้นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่เราได้นำมาเสนอให้ผู้อ่านได้เข้าใจเกี่ยวกับ AR ที่นอกจากในเรื่องของความบันเทิงแล้วยังสามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมต่างๆ ได้อีกมากมาย

 

ทั้งนี้หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ


 

 

 

 

 

 

 

-Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : docs.google.com / techtarget.com / mindphp.com