การออกแบบการยศาสตร์คืออะไร (What is Ergonomics?)

การออกแบบการยศาสตร์คืออะไร (What is Ergonomics?)

 

การยศาสตร์คืออะไร : การยศาสตร์ (Ergonomics) คือกระบวนการของการออกแบบหรือจัดเตรียมสถานที่ทำงาน ผลิตภัณฑ์ และระบบ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ที่ใช้ ซึ่งคนส่วนใหญ่นั้นคิดว่าการยศาสตร์มักเกี่ยวข้องกับที่นั่ง การออกแบบตัวควบคุม และเครื่องมือภายในรถ แต่ที่จริงแล้วการยศาสตร์มีอะไรมากกว่านั้นอีกครับ

 

หากจะพูดไปแล้วการยศาสตร์เป็นอีกสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความสามารถและข้อจำกัดของมนุษย์  หลังจากนั้นจะนำข้อมูลไปเรียนรู้ปรับปรุงปฏิสัมพันธ์ของผู้คนกับผลิตภัณฑ์ ระบบ และสภาพแวดล้อมนั่นเองครับ

 

การยศาสตร์นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงพื้นที่การทำงานหรือการใช้งานเพื่อลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บหรืออันตราย ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนไป จะต้องมีสิ่งที่ทำให้แน่ใจว่าเครื่องมือที่เราได้เข้าถึงสำหรับการทำงาน ความบันเทิง พักผ่อน และอื่นๆ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายของเรานั่นดีเพียงใด

 

การยศาสตร์สำคัญอย่างไร

อ้างอิงจากข้อมูลของ "Safe Work Australia" แสดงให้เห็นว่าค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจโดยรวมของการบาดเจ็บและการเจ็บป่วย (ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน) อยู่ที่ประมาณ 60 พันล้านดอลลาร์ ดังนั้นการวิจัยจึงแสดงให้เห็นว่าอาการเหล่านี้เป็นความทุพพลภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่พบบ่อยที่สุดในโลกนั่นเอง

 

จึงไม่อาจที่จะปฏิเสธไปได้เลยว่าการยศาสตร์นั้นมีความสำคัญอย่างมากที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ว่าสิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างไร เพราะการยศาสตร์มีความสำคัญเพื่อสร้างพื้นที่การทำงานที่ปลอดภัย สะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพ ซึ่งความสามารถและข้อจำกัดของมนุษย์นำไปสู่การออกแบบพื้นที่การทำงาน รวมไปถึงขนาดร่างกาย ความแข็งแรง ทักษะ ความเร็ว ความสามารถทางประสาทสัมผัส การมองเห็นและการได้ยิน ยังรวมไปถึงทัศนคติของแต่ละคนอีกด้วย

    

การยศาสตร์ทำงานอย่างไร

ไม่แปลกใจที่คนทั่วไปนั้นไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับการยศาสตร์ เพราะการยศาสตร์เป็นสาขาที่ค่อนข้างใหม่ จากข้อมูลเพิ่งมีการฉลองครบ 50 ปีในปี 2542 (ประมาณ 23 ปีที่แล้ว) แต่การยศาสตร์อาศัยการวิจัยที่ดำเนินการในด้านวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่และเป็นที่ยอมรับอื่นๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สรีรวิทยา และจิตวิทยา

 

เพื่อให้การดำเนินงานออกแบบแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ดังนั้นนักการยศาสตร์จะใช้ข้อมูลและเทคนิคจากหลากหลายสาขาวิชา ได้แก่

  1. มนุษย์วิทยา : รูปร่าง, ขนาดร่างกาย, ประชากรและความหลากหลาย
  2. ชีวกลศาสตร์ : แรง, คันโยก, กล้ามเนื้อ, และความแข็งแรง
  3. ฟิสิกส์สิ่งแวดล้อม : ความร้อน, เย็น, เสียง, แสง, รังสี และ “ระบบสั่นสะเทือนของร่างกาย” การได้ยิน การมองเห็น ความรู้สึก
  4. จิตวิทยาประยุกต์ : ทักษะการเรียนรู้ ข้อผิดพลาดความแตกต่าง
  5. จิตวิทยาสังคม : กลุ่ม, การสื่อสาร, การเรียนรู้ และพฤติกรรม

 

ตัวอย่างขั้นตอนการออกแบบตามหลักการยศาสตร์

  1. การออกแบบเบื้องต้น : ลำดับแรกนักการยศาสตร์จำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องระบบ หรือผลิตภัณฑ์ ลำดับถัดไปคือการวิเคราะห์ระบบ เมื่อวิเคราะห์ระบบเสร็จสิ้นแล้วสิ่งสุดท้ายคือการตัดสินใจว่าจะต้องการอุปกรณ์ใดหรือบุคคลใดมาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือระบบนั้นให้สมบูรณ์นั่นเอง

 

  1. การออกแบบในรายละเอียด : จุดประสงค์หลักคือการวิเคราะห์เพื่อสร้างรายละเอียดทางด้านการยศาสตร์ของการทำงานในระบบหรือการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เช่น การวิเคราะห์กิจกรรม ได้แก่ การศึกษาเวลาและความเคลื่อนไหว หลังจากวิเคราะห์กิจกรรมแล้ว นักการยศาสตร์จะได้รายละเอียดต่างๆ ว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบ และปัจจัยป้อนเข้าต่างๆ มีกิจกรรมใดบ้างเป็นต้น

 

  1. การทดสอบระบบ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการออกแบบ : เป็นการทดสอบว่ามนุษย์สามารถทำงานกับระบบ หรือผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาได้หรือไม่ เช่น สิ่งที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข และผลกระทบต่างๆ เป็นต้น

 

ดังนั้นการที่จะออกแบบระบบ หรือผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพและตรงตามหลักการยศาสตร์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังกล่าว หากสนใจออกแบบไม่ว่าจะเป็นแบนเนอร์ สติกเกอร์ อัตลักษณ์องค์กร และงานกราฟิก โลโกต่างๆ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ wynnsoft-solution และหวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จะบทความนี้ไม่มากก็น้อย ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ






 

-Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : saranukromthai.or.th / ergonomics.com.au / GJCC CTT TEAM