เกร็ดความรู้! การออกแบบอัตลักษณ์

เกร็ดความรู้! การออกแบบอัตลักษณ์

บทความนี้เราจะพาท่านมารู้จักหลักการออกแบบอัตลักษณ์ ซึ่งเราได้อธิบายหรือพูดถึงการออกแบบต่างๆ ไปในบทความก่อนหน้านี้แล้วครับ แต่เราจำเป็นที่จะต้องพาท่านมารู้จักกับการออกแบบอัตลักษณ์ก่อนที่จะไปออกแบบงานในลักษณะอื่นๆ เพราะการออกแบบอัตลักษณ์เป็นหน้าต่างที่สำคัญที่จะกำหนดหน้าตาและทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ครับ

 

ดังนั้นการออกแบบอัตลักษณ์สำคัญอย่างไร ทำไมนักออกแบบหลายๆ ท่านถึงให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มาก เราไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ เพราะอาจจะช่วยให้การออกแบบชิ้นงานของคุณนั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งมากขึ้น เราได้สรุปมาเป็นบทความสั้นๆ เพื่อให้อ่านและเข้าใจดังนี้

 

ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์

โดยอัตลักษณ์ มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ ดังนั้นเรามาดูความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์ Brand (ยี่ห้อ) เครื่องหมายและสัญลักษณ์หมายถึงอะไร

CI Design (Corporate Identity Design) คือ การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรหรือ Brand สินค้า ซึ่งจะแตกต่างจากการสร้าง Brand โดยตรงครับ แต่จะหมายถึงการกำหนดหน้าตาหรือทิศทางของ Brand นั่นเองครับ

 

ซึ่งการออกแบบอัตลักษณ์ไม่ใช่การออกแบบทั่วไป จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย โดยจะแตกต่างจากการออกแบบอื่นๆ เช่น Logo (โลโก้) ที่ออกแบบแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์

 

ดังนั้น Corporate Identity Design คือ “การออกแบบภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่สามารถทำให้คนภายนอกนั้นสัมผัสได้ เช่นเดียวกับองค์กรที่ต้องการสื่อออกไปให้เข้าใจความหมายอย่างลึกซึ้ง ถ้าหากการออกแบบนั้นผิดพลาดแม้แต่น้อยก็อาจทำให้ความหมายหรือภาพของแบรนด์นั้นบิดเบี้ยวหรือสื่อไปในทิศทางอื่นก็เป็นได้ครับ

 

โดยคำว่า “อัตลักษณ์” ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรมครับ แต่ในทางกลับกันนั้นก็ได้มีหนังสือหรือตำราหลายเล่มได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัว ที่เรียกว่าเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะบุคคล ชุมชน สังคม และประเทศนั้นๆ 

 

ตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นประเทศใดประเทศหนึ่งก็จะบ่งชี้ลักษณะเฉพาะได้ทันที คือ

  1. ภาษา
  2. วัฒนธรรม
  3. เชื้อชาติและศาสนา

  

 โดยลักษณะเหล่านี้จะไม่เป็นลักษณะทั่วไปหรือเป็นสากลกับสังคมอื่นๆ นั่นเองครับ เช่น

  1. อัตตะ มีความหมายว่า ลักษณะ ส่วน ตัวตน ของตน ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว
  2. เอกลักษณ์ ที่มีคำว่า เอก อยู่ด้วยซึ่งแปลว่าหนึ่งเดียวดังนั้นน่าจะหมายความว่ามีลักษณะหนึ่งเดียวนั่นเองครับ

  

 อย่างไรก็ตามคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่าเอกลักษณ์ ส่วนคำว่าอัตลักษณ์จะไม่ค่อยนิยมใช้ในวงกว้างสักเท่าไหร่นัก แต่ส่วนมากจะใช้ในแวดวงวิชาการเท่านั้นครับ แต่ถึงอย่างไรคำเหล่านี้ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจน

 

Identity คือ อัตลักษณ์ขององค์กรและอัตลักษณ์ของสินค้าต่างๆ เช่น ภาพลักษณ์ รูปแบบความคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในการได้รับจากตราสินค้านั้นๆ 

 

unique คือ เอกลักษณ์ ที่เรียกว่าเป็นจุดแข็งที่เสนอคุณลักษณะที่สำคัญเพียงหนึ่งเดียวนั้นเองที่เป็นก้าวแรกในการนำพาองค์กรไปสู่ทิศทางนั้นที่สำเร็จ

 

ดังนั้น คำว่าอัตลักษณ์ขององค์กรต่างๆ เช่น อเมซอน เซเว่น ปตท. คุณก็จะนึกออกทันทีครับว่าเป็นอย่างไร สีอะไร ลักษณะไหน มีคุณค่าอย่างไร รูปแบบโครงสร้างรายละเอียดคุณก็จะนึกออกหมด ซึ่งจะต่างจากเอกลักษณ์ที่จะบ่งบอกถึงลักษณะเพียงอย่างเดียว

 

เพราะฉะนั้นคำว่าอัตลักษณ์ขององค์กรจะทำให้ลูกค้า จดจำ รู้คุณค่า และสร้างความโดดเด่นในแง่ของการแข่งขันนั้นเองครับ (จะเชื่อมโยงกับการตลาดในการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค)

 

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าท่านคงรู้แล้วว่าจะออกแบบอย่างไรให้มีคุณค่าและเป็นที่จดจำมากกว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นเอกลักษณ์เพียงอย่างเดียว

 

ยกตัวอย่างจากคำว่า Brand

Brand คือตราสินค้าหรือยี่ห้อที่หมายถึง ชื่อ คำ สัญลักษณ์ การออกแบบ ที่จะบอกว่าสินค้าหรือบริการหนึ่งเป็นของใคร มีลักษณะแบบไหน และคืออะไร เช่น

  1. Personality บุคลิกภาพ (ของตราสินค้า)
  2. Value ค่า (คือสิ่งที่ทำให้รู้ว่าใช้ตราสินค้านี้แล้วเกิดความพอใจ)
  3. Benefit ประโยชน์ (คุณประโยชน์ของสินค้า)
  4. Attribute คุณลักษณะ (คือรูปร่างหน้าตาภายนอกที่ทำให้เกิดความจดจำ)

    

เชื่อไหมครับว่าเมื่อได้สอบถามกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากมีหลายคนยังแยกไม่ออกเกี่ยวกับคำว่า ผลิตภัณฑ์ กับ ตราสินค้า สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่นักออกแบบควรใส่ใจ (เพราะส่งผลด้านการตลาด) เช่น

  1. ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่สัมผัสได้ จับต้องได้ เห็นได้ด้วยตาเปล่า แยกออกได้ระหว่างรูปร่างหน้าตา มีโมเดลหรือการตั้งราคา ซึ่งจะมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทั้งประสิทธิภาพและคุณค่า เมื่อได้มองและสัมผัสนั่นเอง
  2. ตราสินค้า หมายถึง ทุกๆ อย่างที่สินค้านั้นมี ที่สำคัญยังรวมไปถึงความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้านั้นๆ โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ ที่จะสื่อถึงสิ่งต่างๆ ของสินค้า จากตราสินค้านั่นเอง

  

เชื่อว่าผู้อ่านคงมองเห็นภาพและแยกออกระหว่างตราสินค้าและผลิตภัณฑ์แล้วล่ะครับ ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับไอเดียและการออกแบบของท่านแล้วว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบเป็น “อัตลักษณ์”

 

ดังนั้นผมจะทำให้ท่านมองภาพใน “การออกแบบอัตลักษณ์ให้ง่ายขึ้น” (นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอนซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจฯ ไม่ค่อยใส่ใจกันเท่าไหร่นัก)

 

ตัวอย่างเช่น 

  1. โจทย์ (การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรร้านอาหารเชิงวัฒนธรรมอินเดียสำหรับผู้บริโภควัยรุ่นชาวไทย)
  2. ผลลัพธ์ (สามารถสะท้อนอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมอินเดียให้แก่กลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นชาวไทยได้เป็นอย่างดี)

 

หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจเกี่ยวกับ “หลักการออกแบบอัตลักษณ์” ที่ผู้เขียนบทความนี้ต้องการจะสื่อ ซึ่งในปัจจุบันก็มีร้านอาหาร ร้านคาเฟ่ ตลาดญี่ปุ่นที่สามารถแสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดีและผลตอบรับก็ดีเลยทีเดียว

 

ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับท่านแล้วว่าจะใช้ไอเดียอย่างไรก็เกิดประโยชน์ และเชื่อว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ



 

 

 

 

 

 

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : digital_collect.lib.buu.ac.th / wannisasa.blogspot.com / บทความวิจัย-ธีรภัทร+พันธุ์พิทย์เเพทย์ / Poom Ldb