นวัตกรรมการสร้างเมืองฟองน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง
เมื่อไม่นานที่ผ่านมามีสถาปนิกจีนรายหนึ่ง ได้ออกมาประกาศและพยายามที่จะให้ประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศจีนของเขาเองนั้น ได้หันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับน้ำท่วม โดยการ "สร้างเมืองฟองน้ำ" ซึ่งเป็นเมืองที่มีต้นไม้และพืชจำนวนมาก
จุดประสงค์คือการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งเขานั้นมีเป้าหมายในการลดผลกระทบอันเลวร้ายจากสภาพอากาศที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบของโลกร้อนนั่นเองครับ
เขาคนนั้นก็คือ Yu Kongjian (หยู คงเจี้ยน) ซึ่งเขาเองได้ออกมาอธิบายกับสำนักข่าว AP เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของเขา เกี่ยวกับเมืองที่ไม่ได้รับอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ รวมถึงการที่ฝนตกน้อยหรือตกหนักจนเกินไป!
หยู คงเจี้ยน ได้ยกตัวอย่างเหตุผลของการเกิดน้ำท่วมใหญ่ทั่วเอเชียหลายครั้งที่ผ่านมาไว้ว่า…
วัสดุที่มีความแข็ง เช่น เหล็กและหินที่ใช้ในการสร้างเมืองใหญ่ๆ เหล่านั้น ที่มีการใช้ท่อและร่องน้ำในการควบคุมการเคลื่อนที่ของน้ำ ทั้งหมดนี้ "ไร้ประโยชน์!" และจะนำมาซึ่งความล้มเหลว ดังนั้นหยูจึงสนับสนุนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการสร้างเมืองที่สามารถจัดการกับปัญหาเรื่องน้ำได้
และหยูก็ไม่พลาดที่จะกล่าววิพาษ์วิจารณ์ถึงเมือง อาคาร และถนนหนทางที่ทันสมัยส่วนใหญ่ในเอเชียว่า เมืองเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นจากแนวคิดที่มาจากยุโรป โดยเขาได้วิจารณ์ว่าการออกแบบดังกล่าวไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีฝนตกหนักๆ (เช่นในส่วนใหญ่ของทวีปเอเชีย)
อย่างไรก็ตามเขายังชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในครั้งที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความเสียหายให้แก่หลายเมืองในเอเชียว่า เป็นหลักฐานของความคิดเห็นนี้อีกด้วย
แนวคิดของ หยู คงเจี้ยน สะท้อนอะไรบ้าง?
ซึ่งแนวคิดของหยูนั้นกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของ (การเปลี่ยนแปลงในหมู่ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิทัศน์ และวิศวกรรมโยธาทั่วโลก) แน่นอนว่าผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ยังให้ความสำคัญและทำงานกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งได้มีผลงานอย่างเป็นรูปธรรมออกมาอย่างมากมาย โดยการสร้างพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำในใจกลางเมือง เช่น สวนธารณะและบ่อน้ำ ที่สามารถกักเก็บน้ำฝน ซึ่งมีความสามารถในการช่วยป้องกันน้ำท่วมได้นั่นเอง
และไม่เพียงแค่ช่วยป้องกันน้ำท่วมเพียงอย่างเดียว แต่โครงการเหล่านี้ยังสามารถช่วยให้น้ำไหลผ่านดินไปอย่างช้าๆ ด้วย และที่สำคัญยังช่วยเติมเต็มแหล่งน้ำใต้ดินในช่วงเวลาที่ฝนตกน้อยเกินไปได้อีกด้วยครับ
หยู เขาได้กล่าวว่า แนวคิดของเมืองฟองน้ำคือการฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ให้กับน้ำ
หยู เขาได้กล่าวว่า "จุดเปลี่ยน" ที่ทำให้เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการเปลี่ยนแปลงเมืองของประเทศจีน ได้เกิดขึ้นมาแล้วเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา จากเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเมืองหลวงของปักกิ่ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2012 ที่ผ่านมานั่นเอง
หยูได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ไว้
โดยหยูได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ฝนตกครั้งใหญ่ที่สุดในเมืองปักกิ่งในรอบ 61 ปี ว่าครั้งนั้นน้ำมีมากเกินไปสำหรับความสามารถในการระบายน้ำ จึงทำให้น้ำเอ่อท่วมเต็มใจกลางเมือง และท่วมขอบเมือง ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 77 คน!!!
เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ดังกล่าว จึงทำให้หยูเกิดแนวคิดขึ้นมา และหยูจึงได้ส่งจดหมายถึง เกา จิ้นหลง (ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนสาขาปักกิ่ง)
โดยจดหมายดังกล่าวเขาได้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีที่รัฐบาลจัดการกับถนนหนทางและอาคารต่างๆ ในเมืองหลวง และที่สำคัญไม่เพียงเท่านี้ หยูยังได้ส่งจดหมายไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง รวมไปถึงประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนอีกด้วยครับ!
ต่อมาจีนจึงได้รวมแนวคิดเรื่องเมืองฟองน้ำ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาระดับชาติ
เมื่อปี 2014 รัฐบาลกลางจีนจึงได้ออกคำสั่งให้นำน้ำฝนที่ไหลบ่า 70% กลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่เมือง 20% ภายในปี 2020 และอีก 80% ของพื้นที่ดังกล่าวภายในปี 2030
หลังจากนั้นได้ไม่นานทางรัฐบาลจึงได้เปิดตัวโครงการเมืองฟองน้ำ 16 โครงการ (สำหรับการทดลอง) ซึ่งมีการเพิ่มอีก 14 โครงการในปี 2016 อีกด้วย
อย่างไรก็ตามการที่รัฐบาลและผู้นำสนับสนุนทางด้านการเงิน จึงนำไปสู่การเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานในการดูดซับน้ำ โดยจะรวมไปถึงเมืองใหญ่ๆ อย่างเช่น เซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่งครับ!
ทั้งนี้การเริ่มต้นทดลองโครงการดังกล่าว มีบางโครงการที่ต้องล้มเหลวไป เนื่องจากโครงการดังกล่าวยากที่จะนำไปใช้ในบางพื้นที่ของจีน และการใช้งบประมาณในทางที่ผิด การขาดความชำนาญในการวางผังเมืองฟองน้ำ และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นด้วยนั่นเองครับ
--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : voathai.com