การออกแบบอาคาร เพื่อรับมือแผ่นดินไหว

การออกแบบอาคาร เพื่อรับมือแผ่นดินไหว

ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้ออกมาให้แนวคิดในการรับมือแผ่นดินไหว ทั้งในด้านการออกแบบอาคาร และวิธีการปรับปรุงแก้ไขอาคาร เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว 

 

เนื่องจากมีแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี และซีเรียเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 ที่ผ่านมา โดยมีความรุนแรงอยู่ที่ 7.8 แมกนิจูด ซึ่งได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก

 

ดร.ภาณุมาศ ไทรงาม “อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหว” ได้ออกมาให้แนวทางความรู้ในการรับมือแผ่นดินไหวว่า...

 

ส่วนสำคัญในการออกแบบโครงสร้างเพื่อรับมือกับเหตุการณ์แผ่นดินไหว จะออกแบบให้ “เสา” มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น 

 

เนื่องจากผลกระทบโดยตรงกับอาคาร จะเป็นแรงที่กระทำจากด้านข้าง นั่นคือ “เสา” เรียกว่าระบบ “เสาแข็งคานอ่อน” เพราะจะทำให้โอกาสเสาที่จะเอนนั้นน้อยลง อีกทั้งยังทำให้อาคารมีความเหนียวมากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มรายละเอียดเหล็กเสริม และเหล็กปลอกของโครงสร้างของอาคาร
 

อาคารที่เจ้าของที่มีความกังวลเรื่องมาตรฐาน สามารถวิเคราะห์ได้ 

สำหรับอาคารเก่าหรืออาคารที่เจ้าของมีความกังวลเรื่องมาตรฐานในการก่อสร้าง ในหลักการทางวิศวกรรม สามารถทำการวิเคราะห์อาคารได้ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ตาม 4 แนวทางดังนี้

 

1. เสริมกำลังด้วยโครงแกงแนง (bracing): เนื่องจากจะช่วยรับแรงด้านข้างได้ดี มีลักษณะของการเสริมกำลังด้วยการใช้เหล็กแท่งเสริมเข้าไประหว่างเสา 2 ต้น 

 

เพื่อเพิ่มการรับแรงกระทำจากด้านข้าง การยึดรั้ง และเพิ่มเสถียรภาพและความแข็งแรงทางด้านข้าง ซึ่งเป็นระบบที่ถูกใช้เสริมกำลังอาคารเพื่อต้านทานแผ่นดินไหวในหลายประเทศ

 

2. เสริมกำลังด้วยคอนกรีต และเหล็กเสริมที่เสาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิม (concrete jacketing): นี่เป็นวิธีการเสริมแรงแบบดั้งเดิม เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการเสริมความแข็งแรงของอาคาร 

 

เพื่อรองรับแผ่นดินไหวในพื้นที่ที่มีผู้เชี่ยวชาญในงานก่อสร้างด้านการเสริมกำลังด้วยโครงคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยเป็นวิธีดั้งเดิมที่ถูกใช้ในหลายประเทศ 

 

3. เสริมกำลังโดยให้กำแพงสามารถรองรับแรงเฉือน (shear wall): โดยอาคารสูง หรืออาคารสาธารณะในประเทศไทย (โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ) จะมีการออกแบบรับแรงด้านข้างมานานแล้ว 

 

จากปกติที่ผนังหรือกำแพงจะเป็นแค่อิฐเพียงอย่างเดียว ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้กับอาคารสูง เนื่องจากจะได้รับผลกระทบทั้งแรงลม หรือแผ่นดินไหวมากกว่าอาคารต่ำ

 

4. เสริมกำลังด้วยแผ่นเหล็กที่เสาจะทำให้อาคารมีการรับแรงด้านข้างได้มากขึ้น (steel jacketing): แทนการเอาเหล็กเสริม และคอนกรีตเข้าไปพอกที่เสาเพียงอย่างเดียว เหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการเสริมความแข็งแรงของอาคาร 

 

เพื่อรองรับแผ่นดินไหว และมีผู้เชี่ยวชาญในการก่อสร้างงานด้านการเสริมกำลังด้วยโครงสร้างเหล็ก 

 

ดร.ภาณุมาศ ไทรงาม ได้กล่าวเสริมเอาไว้ว่า...อาคารกลุ่มแรกที่ควรได้รับการตรวจสอบและวิเคราะห์ ควรเป็นอาคารยุคเก่า กลุ่มอาคารสาธารณะที่มีผู้คนใช้งานเป็นจำนวนมาก 

 

เพื่อหาแนวป้องกัน และเสริมกำลังให้ต้านทานแผ่นดินไหวต่อไปนั่นเอง 





 

---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก: prachachat.net