หลักการออกแบบ

หลักการออกแบบ

หลักการของการออก แบบถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าจะออกแบบหรือสร้างสรรค์ชิ้นงานให้ออกมาสวยและเป็นที่น่าพอใจ จำเป็นที่จะต้องรู้หลักการวิธีการ เพื่อความง่ายในการออกแบบ และผลงานออกมาดีโดยไม่จำเป็นที่จะต้องลองผิดลองถูกหลายครั้ง 

 

ถ้าหากผสมผสานกับประสบการณ์ที่มีด้วยผลงานก็ยิ่งออกมาดี แต่ถึงอย่างไรก็ตามงานศิลปะนั้นไม่มีถูกมีผิดซึ่งอยู่ที่มุมมองของแต่ละบุคคลครับ

 

หลักการออกแบบมีอยู่ 9 อย่าง ดังนี้

1. การซ้ำ ( Repetition)

2. เอกภพ ( unity)

3. จังหวะ (rhythm)

4. การเน้นให้เกิดจุดเด่น ( Emphasis)

5. ความลึก / ระยะ ( Perspective)

6. ความขัดแย้ง (Contrast)

7. ความกลมกลืน ( Harmony )

8. เส้นแย้ง ( opposition) 

9. ความสมดุล ( balance)

 

1. การซ้ำ ( Repetition ) ในส่วนของการปรากฏตัวของหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปเป็นการรวมตัวกันของสิ่งที่มีอยู่ฝ่ายเดียวเข้าด้วยกัน เช่น การซ้ำของน้ำหนักเทา การซ้ำของรูปทรงที่เหมือนกัน การซ้ำของน้ำหนักตำ และการซ้ำของเส้นตั้งนั่นเองครับ

 

ซึ่งการซ้ำนั้นสามารถใช้ประกอบโครงสร้างสิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น  เช่น ลวดลายผ้า และกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญของการซ้ำก็คือ ส่วนประกอบของการซ้ำและหลักการจัดองค์ประกอบของการซ้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการสร้างและต้องเข้าใจในหลักการประกอบส่วนย่อยนั้นเข้าด้วยกันนั่นเอง

 

2. ความเป็นหน่วย / เอกภพ ( Unity) เรากำลังจะบอกว่า ในการออกแบบนั้น ผู้ที่ออกแบบจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆ ก็คงต้องถือหลักการนี้เช่นเดียวกันครับ

 

การสร้างเอกภพในทางปฏิบัติมี 2 แบบ    

1. Dynamic unity เป็นการเน้นไปทางอ่อนไหวการเคลื่อนไหว ซึ่งอยู่รูปในลักษณะ gradation or harmony or contrast อย่างใดอย่างหนึ่งให้แสดงออกมาจากงานชิ้นนั้นด้วยจะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น การจัดองค์ประกอบที่ดีนั้นควรให้ส่วนประกอบรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แตกกระจาย การรวมตัวกันจะทำให้เกิดหน่วย หรือเอกภพ จะได้ส่วนประธานเป็นจุดสนใจิและมีส่วนประกอบต่างๆิให้น่าสนใจ

2. Static unity การจัดกลุ่มของ from และ shape ที่แข็ง เช่น รูปทรงเรขาคณิต จะให้ผลทรงพลังเด็ดขาด แข็งแรง และ แน่นอน

 

3. จังหวะ (Rhythm) ซึ่งในส่วนของจังหวะมักจะเกิดจากการต่อเนื่องหรือซ้ำกัน ดังนั้น จังหวะที่ดีทำให้ภาพดูสนุก เปรียบได้กับเสียงเพลงอันไพเราะในด้านการออกแบบ แบ่งจังหวะ เป็น  4 แบบนั้นก็คือ

1. จังหวะจากเล็กไปใหญ่ หรือจากใหญ่ไปเล็ก เป็นการนำรูปที่เหมือนกัน มาเรียงต่อกันแต่มีขนาดต่างกัน โดยเรียงจากเล็กไปใหญ่  หรือ จากใหญ่ไปเล็กอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาพมีความลึก มีมิติ 

2. จังหวะสลับกันแบบไม่คงที่ เป็นการนำองค์ประกอบของรูปที่ต่างกันมาสลับกันอย่างอิสระ ทั้งขนาด ทิศทาง ระยะห่าง ให้ความรุ้สึกสนุกสนาน 

3.  จังหวะสลับกันไปแบบคงที่ เป็นการนำองค์ประกอบหรือรูปที่ต่างกันมาวางสลับกันอย่างต่อเนื่อง เป็นชุด เป็นช่วง ให้ความรู้สึกเป็นระบบ สม่ำเสมอ ความแน่นอน

4.จังหวะแบบเหมือนกันซ้ำๆ กัน เป็นการนำเอาองค์ประกอบหรือรูปที่เหมือนๆ กันมาจัดวางเรียงต่อกัน ทำให้ดูมีระเบียบ ( order ) เป็นทางการ การออกแบบลายต่อเนื่อง เช่น ลายเหล็กดัด ลายกระเบื้องปูพื้นหรือผนัง ลายผ้า เป็นต้น 

 

4. การเน้นให้เกิดจุดเด่น ( Emphasis) ส่วนสำคัญในการออกแบบจะประกอบด้วยจุดสำคัญหรือส่วนประธานในภาพ จุดรองลงมาหรือส่วนรองประธาน ส่วนประกอบหรือพวกรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ หลักและวิธีในการใช้การเน้น เช่น เน้นด้วยการทำจุดรวมสายตา, เน้นด้วยขนาด, เน้นด้วยการใช้สี, เน้นด้วยการจัดกลุ่มในส่วนที่ต้องการเน้น, เน้นด้วยการประดับ, เน้นด้วยการใช้หลักเรื่อง Contrast เป็นต้นครับ

 

5. ความลึก / ระยะ ( Perspective) ความลึกนั้นจะทำให้ภาพดูสมจริง เช่น ภาพวัตถุใดอยู่ใกลัจะใหญ่ ถ้าอยู่ไกลออกไปจะมองเห็นเล็กลงตามลำดับ จนสุดสายตา ซึ่งมีมุมมองหลักๆ อยู่ 3 ลักษณะ คือ วัตถุอยู่สูงกว่าระดับตาวัตถุอยู่ในระดับสายตา และวัตถุอยู่ต่ำกว่าระดับสายตานั่นเองครับ

 

6. ความขัดแย้ง (Contrast) ความขัดแย้ง (Contrast) ซึ่งหมายถึง ไม่ประสานสัมพันธ์กัน ขององค์ประกอบศิลป์ ทำให้ขาดความกลมกลืน ในเรื่องรูปทรง สี ความไม่ลงรอยกันเข้ากันไม่ได้ ขนาดลักษณะผิวที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักออกแบบที่ดี จะต้องลดความขัดแย้งดังกล่าว ให้เป็นความกลมกลืน จึงจะทำให้งานออกแบบมีคุณค่า ลักษณะของความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งของรูปร่าง ความขัดแย้งของขนาดต่างๆ เป็นต้นครับ 

 

7. ความกลมกลืน ( Harmony ) ในส่วนของความกลมกลืนนั้น การจัดองค์ประกอบที่ใกล้เคียงกันหรือคล้ายๆ กันมาจัดภาพทำให้เกิดความนุ่มนวลกลมกลืนกันมี 3 แบบดังต่อไปนี้

1. กลมกลืนในด้านประโยชน์ใช้สอย คือ ทำให้เป็นชุดเดียวกัน

2. กลมกลืนในความหมาย เช่น การออกแบบเครื่องหมายการค้า และ โลโก้

3. กลมกลืนในองค์ประกอบได้แก่ 

 - กลมกลืนด้วยน้ำหนัก

 - กลมกลืนด้วยรูปทรง – รูปร่าง

 - กลมกลืนด้วยวัสดุ – พื้นผิว

 - กลมกลืนด้วยสี มักใช้โทนสีที่ใกล้กัน

 - กลมกลืนด้วยขนาด – สัดส่วน

- กลมกลืนด้วยเส้น – ทิศทาง

 

8. เส้นแย้ง ( opposition) ในส่วนของ เส้นแย้ง ( opposition) เป็นการจัดองค์ประกอบโดยการนำเอาเส้นในลักษณะแนวนอนและแนวตั้งฉากมาประกอบกันให้เป็นเนื้อหาที่ต้องการ มีลักษณะของภาพและเส้นแย้งในธรรมชาติรอบๆ ตัวเรา อยู่มากมาย นับได้ว่าเป็นรากฐานของการจัดองค์ประกอบครับ

 

ดังนั้น การจัดองค์ประกอบเพื่อให้เกิดความแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจหรือให้เกิดความสนุกตื่นเต้น น่าสนใจ ลดความเรียบ น่าเบื่อ ให้ความรู้สึกฝืนใจ ขัดใจ แต่ทำให้ชวนมองนั่นเองครับ

 

9. ความสมดุล ( balance) ความสมดุล ( balance) ความเท่ากันหรือเท่าเทียมกันทั้งสองข้าง แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

1. สมดุลแบบ 2 ข้างไม่เหมือนกัน (Asymmetrical balance ) ด้านซ้ายและขวาจะ ไม่เหมือนกัน เมื่อมองดูแล้วเท่ากันด้วยน้ำหนักทางสายตา เช่น สมดุลด้วยน้ำหนัก และขนาดของรูปทรง ด้วยจุดสนใจ ด้วยจำนวนและด้วยความแตกต่างของรายละเอียด ค่าความเข้ม – จางของสี เป็นต้นครับ

2. สมดุลแบบทั้ง 2 ข้างเหมือนกัน (Symmetrical balance) ทั้งซ้ายขวาเหมือนกัน การสมดุลแบบนี้จะทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น ยุติธรรม เช่น งานราชการ ใบวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร การถ่ายรูปติดบัตรนั่นเองล่ะครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

 

ข้อมูลจาก : sites.google.com