มาแล้ว ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อช่วยชีวิตสัตว์ทะเลขนาดใหญ่

มาแล้ว ใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อช่วยชีวิตสัตว์ทะเลขนาดใหญ่

ล่าสุดมีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเกตในรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่ากำลังพัฒนา SealNet (ซีลเน็ต) ซึ่งเป็นเครื่องมือฐานข้อมูลใบหน้าของแมวน้ำที่สร้างขึ้นโดยการถ่ายภาพแมวน้ำจำนวนมากตามท่าเรือในอ่าว Casco ของรัฐเมน

 

แต่หากมองย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ได้เคยมีการนำเครื่องมือที่คล้ายกันนี้ สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เรียกว่า PrimNet มาใช้กับแมวน้ำก่อนแล้ว 

 

แต่อย่างไรก็ตามนักวิจัยของมหาวิทยาลัยคอลเกตได้กล่าวว่า SealNet นั้นทำงานได้ดีกว่า เนื่องจากเครื่องมือในการระบุใบหน้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม SealNet นี้มีความแม่นยำเกือบ 100% เลยทีเดียว

 

ด้านของ Krista Ingram (คริสตา อินแกรม) "ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาแห่งมหาลัยคอลเกต และเป็นหนึ่งในนักวิจัยของ Sealnet" ได้ออกมาให้ความเห็นเช่นกันว่า… 

 

ขณะนี้นักวิจัยพยายามที่จะเพิ่มขนาดฐานข้อมูลเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ สามารถใช้งาน Sealnet ได้ และย้ำว่าการเพิ่มฐานข้อมูลนั้นมีขึ้นเพื่อรวมแมวน้ำสายพันธ์ุหายาก เช่น Mediterranean monk และ Hawaiian monk เพื่อความพยายามในการอนุรักษ์สายพันธ์ุเหล่านั้นเอาไว้นั่นเอง

 

สำหรับเจ้าเครื่องมือ SealNet นั้นได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้แยกแยะใบหน้าจากรูปภาพของแมวน้ำนั้นๆ โดยจะอิงตามข้อมูลเช่น ดวงตา และรูปร่างจมูกเช่นเดียวกันกับมนุษย์นั่นเอง

 

โดยข้อมูลใบหน้าแมวน้ำที่ว่านี้ จะใช้ Machine Learning ในการระบุใบหน้าของพวกมัน ที่สำคัญยังมีส่วนช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าแมวน้ำอยู่บริเวณใดของมหาสมุทรอีกด้วย!!

 

อย่างไรก็ตาม อินแกรม ได้กล่าวว่าสิ่งที่ยากที่สุดคือ "สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลที่เคลื่อนไหวไปมาบ่อยๆ นั้นยากต่อการถ่ายภาพในน้ำ แต่อย่างไรก็ตามเราจำเป็นที่จะต้องระบุตัวตนพวกมันให้ได้!!!"

 

ผลการศึกษาในปีที่ผ่านมาใน Ecology and Evolution จากแมวน้ำมากกว่า 400 ตัว

จากการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอลเกต ได้ระบุผลการศึกษาเมื่อฤดูใบไม้ผลิปีที่ผ่านมาใน Ecology and Evolution ซึ่งได้ประมวลภาพแมวน้ำมากกว่า 400 ตัว เป็นจำนวนมากกว่า 1,700 ภาพ

 

จากการศึกษาพบว่า : ซอฟต์แวร์ SealNet นั้นเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในด้านการพัฒนา "เทคโนโลยีการอนุรักษ์" ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทรงคุณค่าเลยล่ะ เนื่องจากเทคโนโลยีนี้มุ่งช่วยชีวิต และปกป้องสัตว์ป่านั่นเอง

 

แต่ในปัจจุบันนี้แมวน้ำฮาร์เบอร์ ยังคงถูกพบว่ามีอยู่ทั่วไปตามน่านน้ำนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ แต่ในทางกลับกันกลับพบว่า แมวน้ำสายพันธ์ุอื่นๆ ยังคงตกอยู่ในความเสี่ยง เช่น แมวน้ำ Mediterranean monk ถือว่าเป็นแมวน้ำที่มีความเสี่ยงมากที่สุดในโลก เนื่องจากเหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยตัวบนโลก!!

 

สำหรับเจ้าแมวน้ำฮาร์เบอร์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของการอนุรักษ์ในสหรัฐฯ ย้อนกลับไปเมื่อ 100 ปีก่อน สัตว์เหล่านี้เคยถูกล่าเป็นจำนวนมาก แต่กฎหมายคุ้มครองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลซึ่งมีอายุครบ 50 ปีในเดือนตุลาคม ได้ให้การปกป้องคุ้มครองสัตว์เหล่านี้ จนทำให้ประชากรของพวกมันเริ่มกลับมานั่นเอง

 

และไม่เพียงเท่านี้ ยังได้มีการศึกษาแมวน้ำและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ในมหาสมุทรมานานแล้วซึ่งสมัยนั้นมีการใช้เทคโนโลยี ดาวเทียม

 

Jason Holmberg (เจสัน โฮล์มเบิร์ก) จาก Wild Me ได้กล่าวว่า การใช้ AI (ปัญญาประดิษฐ์) ในการศึกษาพวกมันเป็นวิธีนำการอนุรักษ์กลับสู่ศตวรรษที่ 21 และในขณะนี้ Wild Me กำลังพัฒนาความร่วมมือที่เป็นไปได้กับ SealNet อีกด้วย!!

 

ด้านของ Michelle Berger (มิเชลล์ เบอร์เกอร์) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ร่วมของสถาบัน Shaw ในรัฐเมนซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยของ Sealnet ได้ออกมาให้ความคิดเห็นเช่นกันว่า...

 

เทคโนโลยีจดจำใบหน้าดังกล่าวอาจมีส่วนช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ และเมื่อระบบสมบูรณ์แบบแล้ว ก็จะถูกนำไปใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม และหากว่าระบบนี้สามารถจดจำแมวน้ำได้

 

เช่นการจดจำแบบปีต่อปี ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะทำให้ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแมวน้ำ เช่น การเคลื่อนย้ายของแมวน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเป็นต้น

 

อย่างไรก็ตามเครื่องมือดังกล่าว ยังช่วยให้นักชีววิทยาได้ศึกษาพฤติกรรมของแมวน้ำ และแมวน้ำฮาร์เบอร์ยังให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวพวกมันอีกด้วย 

 

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อย จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีถูกพัฒนาเพื่อให้มีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าเทคโนโลยีมีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่ หากเราใช้อย่างถูกวิธีจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมากครับ









 

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : voathai.com