การออกแบบทัศนศิลป์ (ที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับงานออกแบบของคุณได้)
บทความนี้เราจะพามาเปิดมุมมองในศาสตร์ของการออกแบบซึ่งมีอยู่อย่างมากมายที่เกิดจากไอเดียและการจินตนาการของมนุษย์ ทำให้ออกมาเป็นชิ้นงานที่งดงามซึ่งก็มีความแตกต่างกันออกไป
เนื่องจากในบทความก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงหลักการออกไปไม่ว่าจะเป็น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบแบรนด์ หรือแม้กระทั่งการออกแบบอัตลักษณ์ และการออกแบบอื่นๆ อีกมากมายไว้แล้ว
ดังนั้นในบทความนี้เราจึงได้มานำเสนอ “การออกแบบทัศนศิลป์” เพื่อให้ผู้อ่านได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ของการออกแบบที่มีความหลากหลาย ซึ่งทุกสิ่งล้วนแล้วแต่สามารถนำไปปรับใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดงานศิลปะที่งดงามได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ
เรามาดูกันเลยครับว่า “การออกแบบทัศนศิลป์” นั้นเป็นอย่างไร และแตกต่างจากการออกแบบอื่นๆ อย่างไร โดยผู้อ่านสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ธุรกิจหรือการออกงานด้านอื่นๆ ได้ ไปดูกันเลยครับ
ความสำคัญของการออกแบบ
ทำไมในโลกใบนี้ถึงได้มีการพัฒนาเพื่อตอบสนองการใช้ชีวิต ให้ดีขึ้นกว่าเดิมทั้งด้านความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และอื่นๆ ก็เพราะว่าทุกอย่างล้วนแล้วได้ถูกออกแบบมาจากหลักการและเหตุผล ที่เกิดจากไอเดียและประสบการณ์ที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
เหตุนี้จึงทำให้การออกแบบเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น ทางด้านร่างกาย ความรู้สึก ทัศนคติ ซึ่งไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลง ความแตกต่าง และความงดงาม ต่อการดำเนินชีวิตของเรานั่นเอง
ตัวอย่างเช่น
1. การวางแผนการทำงาน
ขั้นตอนแรกของการออกแบบคือการวางแผนขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนที่เหมาะสม ซึ่งสามารถช่วยให้ประหยัดเวลา หากคุณยังไม่เป็นผู้เชี่ยวชาญมากพอการออกแบบล้วนแล้วต้องเป็นไปตามขั้นตอน
หากออกแบบโดยไม่มีแบบแผนและขั้นตอน เมื่องานเสร็จสิ้นอาจผิดพลาดและไม่เป็นไปตามต้องการ เพราะหลักการออกแบบต้องใช้หลายองค์ประกอบมารวมกัน ดังนั้นการออกแบบ จึงถือได้ว่าเป็นการวางแผนงานที่ดี
อยากจะฝากบอกไว้ว่า ควรศึกษาหลักการออกแบบที่หลากหลาย เรียนรู้ ฝึกฝน หัดใช้ไอเดีย ซึ่งองค์ประกอบและประสบการณ์เหล่านี้จะนำมาซึ่งการวางแผนก่อนเริ่มงานของคุณโดยอัตโนมัติ
2. การนำเสนอผลงาน
การนำเสนอผลงานเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ อีกอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอะไรก็ตาม ชิ้นงานจะต้องสื่อความหมายออกมาได้ ดังนั้นหากคุณออกแบบชิ้นงานคุณต้องคำนึงก่อนว่าต้องการที่จะสื่อความหมายอะไรออกไป
ซึ่งชิ้นงานล้วนแล้วมีผลต่อความรู้สึก ของผู้ที่พบเห็นและได้สัมผัสชิ้นงานนั้นๆ ดังนั้นนี่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ที่คุณจะต้องนำเสนอผลงานให้สื่อความหมายให้เข้าใจระหว่างกันนั่นเองครับ
3. การอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน
เมื่อคุณออกแบบชิ้นงานมาสักชิ้นหนึ่งซึ่งมีความซับซ้อน และมีรายละเอียดที่มากมาย ดังนั้นทุกรายละเอียดจะต้องสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ทุกองค์ประกอบจะต้องเชื่อมระหว่างกันและสามารถสื่อความหมายในภาพรวมได้อย่างชัดเจน
ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่พบเห็นและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น งานออกแบบ คือตัวแทนทางความคิดของผู้ออกแบบที่ได้สะท้อนออกมานั่นเอง
4. แบบ
แบบคือส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง หรือจะเรียกว่าเป็นตัวกำหนดทิศทางเลยก็ว่าได้ ซึ่งผู้ออกแบบกับผู้สร้างหรือผู้ผลิตจะมีความแตกต่างกัน และคนละคนกัน ตัวอย่างเช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง หรือนักแสดงกับผู้กำกับ
ถ้าหากนำมาเปรียบเทียบกัน นักออกแบบก็คือ ผู้สร้างเนื้อหา หรือผู้เขียนบทละครนั่นเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างคุณค่าที่ถูกสร้างขึ้นมา หรือสร้างคุณค่าให้กับวิถีชีวิตของเรา เช่น
1. คุณค่าทางทัศนคติ
งานออกแบบที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีผลงานทางทัศนคติก็คือ เน้นสร้างทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้พบเห็น ได้รับรู้ว่าสิ่งนี้สื่อความหมายไปในทิศทางใด มีความหมายทางด้านความคิดแบบไหน เช่น รูปปั้นตัวแทนแห่งเสรีภาพ อนุสาวรีย์ ความอ่อนโยน ความกล้าหาญ ความถูกต้อง เป็นต้น
หรืองานด้านประติมากรรมและจิตรกรรม บางอย่างที่ถูกสร้างขึ้นมาที่แสดงถึง การถูกกดขี่ รีดไถ และความรุนแรง เพื่อแสดงและบ่งบอกถึงทัศนคติที่ดี ที่ถูกต้อง ที่เหมาะสม ความเป็นเหตุและผลในสังคมนั่นเองครับ
2. คุณค่าทางกาย
การออกแบบที่มีคุณค่าทางกายซึ่งส่วนนี้จะส่งผลไปถึงร่างกาย เป็นคุณค่าที่มีประโยชน์ต่อการใช้สอยในชีวิตประจำวันโดยตรง เช่น รองเท้ามีสำหรับไว้สวมใส่ เตียงนอนมีสำหรับไว้นอน ยานพาหนะมีสำหรับไว้เดินทาง บ้านมีไว้สำหรับพักอาศัย เป็นต้น
ตัวอย่างข้างต้นนี้มีคุณค่าทางกายทั้งหมด ล้วนแล้วก็ผ่านการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันโดยตรง
3. คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึก
คุณค่าของการออกแบบที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อ ความสบายใจ ดึงดูด พอใจ และรู้สึกชอบ แต่จะไม่มีผลต่อการใช้สอยโดยตรง
หรืองานออกแบบด้านทัศนศิลป์ การออกแบบตกแต่งที่ให้คุณค่าทางอารมณ์เหล่านี้ (อาจแฝงมาในงานออกแบบที่มีประโยชน์ทางกายด้วยก็ได้) เช่น การออกแบบตกแต่งยานพาหนะ ตกแต่งรองเท้า ที่สามารถให้คุณค่าทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและคุณค่าทางกายได้นั่นเอง ซึ่งจะคล้ายกับ UX/UI เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการออกแบบด้วยไอเดียไม่มีผิดหรือถูก ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่ถูกสร้างขึ้นมาจากสิ่งที่ผู้สร้างนั้นคิด แต่การออกแบบนั้นมีการใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
เช่น หากคุณต้องการที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์คุณต้องคำนึงถึง ความเป็นเอกลักษณ์ ความสำคัญของความรู้สึก ความสวยงาม เป็นต้น
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยในการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน หากผู้อ่านต้องการที่จะออกแบบเว็บไซต์ หรือโลโก้ต่างๆ เพื่อธุรกิจที่เติบโตขึ้นสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ที่ wynnsoft-solution.com เพราะการออกแบบสามารถสร้างความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจให้กับธุรกิจได้ไม่น้อยไปกว่ากลยุทธ์อื่นๆ ครับ ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : bookzx.blogspot.com / digitalschool.club / Poom Ldb / ภาพจาก : pexels.com