รูปภาพบนเว็บไซต์สำคัญไฉน ใครรู้บ้าง

รูปภาพบนเว็บไซต์สำคัญไฉน ใครรู้บ้าง

รูปภาพบนเว็บไซต์สำคัญไฉน ใครรู้บ้าง
รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามองข้ามสามารถส่งผลเสียต่อเว็บไซต์ได้เหมือนกันนะ


รู้หรือไม่ ?
– ผู้ชมสามารถจดจำรูปภาพได้มากกว่าการอ่านถึง 80 เปอร์เซ็น
– บทความที่มีรูปภาพจะมีผู้ชมมากถึง 94 เปอร์เซ็น
– สำหรับธุรกิจพบว่าภาพสำคัญกว่าข้อมูลต่างๆ บนผลิตภัณฑ์ถึง 67 เปอร์เซ็น
– กว่า 93 เปอร์เซ็น ให้ความเห็นว่าภาพมีส่วนสำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อของออนไลน์

 

1.การอัปโหลดรูปภาพ
      รูปภาพควรมีขนาดที่เหมาะสมต่อเว็บไซต์ หากมีขนาดใหญ่เกินไป อาจทำให้เว็บไซต์โหลดนาน ผู้เข้าชมขี้เกียจรอและกดปิดหน้าเว็บไซต์นั้นไปก่อน


2.การเลือกความละเอียดภาพ
      ต้องเลือกภาพที่มีความละเอียดเหมาะสมกับขนาดที่ใช้งาน ความละเอียดของภาพ PPI (pixels per inch) 
ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์คือ 72PPI ถึง 120 PPI ซึ่งเป็นความละเอียดที่หน้าแบบปกติที่ใช้งานการทั่วโลกสามารถแสดงได้ การกำหนดความละเอียดเป็น 72PPI จะช่วยให้ขนาดไฟล์เล็กลงได้มาก 
นอกจากนี้เราควรจะรู้ด้วยว่าภาพที่จะแสดงบนเว็บไซต์มีขนาดความกว้าง x ยาว กี่ pixels เพื่อป้องกันที่ภาพจะสูญเสียรายละเอียด เพราะหากภาพแตก หรือไม่ได้คุณภาพที่เหมาะสม อาจทำให้เสียอารมณ์ในการเข้าชม โดยมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Save For Web & Devices สามารถลดขนาดไฟล์ภาพและยังช่วยปรับความละเอียดภาพได้ตามต้องการ (Low, Medium, High, Very High, and Maximum) ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะภาพความละเอียดต่ำทำให้เว็บไซต์โหลดได้เร็วขึ้นก็จริง แต่ก็เสียความคมชัดไปด้วยเช่นกัน


3.จุดโฟกัส
      หากเราทำให้ภาพมีจุดโฟกัสที่เด่น และเหมาะสม ดังนั้นควร crop ภาพให้พอเหมาะพอดี จะช่วยให้ภาพมีความหมายมากยิ่งขึ้น 


4.การเลือกใช้ภาพและสัดส่วนของภาพ
      ภาพถือเป็นจุดเด่นสำคัญที่จะดึงดูดให้มีผู้เข้าชม หากใช้ภาพไม่สวย หรือไม่ชัดเจน อาจทำให้เป็นจุดเด่นทางด้านลบ ทำให้เกิดเป็นความไม่ประทับใจต่อผู้เข้าชม อีกทั้งสัดส่วนภาพต้องมีความพอเหมาะ เพื่อความสมดุลและสวยงาม


5.การเลือกใช้ไฟล์ (file format)
      โดยไฟล์แต่ละชนิดมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อีกทั้งมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน
       - JPG (JPEG) : ไฟล์หลักสำหรับภาพถ่ายมีความละเอียดสูงให้สีที่สดใสและถูกต้อง
         และไม่เหมาะสมกับภาพที่มี Text ประกอบด้วย
       - PNG : ให้ความละเอียดที่สูงที่สำคัญคือทำพื้นหลังแบบโปร่งใสได้ มีเส้นขอบที่คมจึงเหมาะกับงานประเภท
         graphics, logos, charts หรืองานประเภทอื่นๆ
       - GIF : เป็นไฟล์เดียวที่รองรับภาพเคลื่อนไหวที่เป็นกราฟิกง่ายๆ คุณภาพไม่สูงมากนัก ให้สีที่ไม่ตรงเท่ากับ JPG
       - SVG : เป็นภาพแบบ vector จึงย่อขยายได้ไม่จำกัด
       - PDF : เป็นไฟล์ที่เหมาะจะเปิดกับอุปกรณ์อันหลากหลายชนิดเหมาะสุดๆ กับการทำ e-book

 

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญเกี่ยวกับภาพคือเรื่องของสี คือ การใช้งานบนเว็บไซต์อย่าลืมว่าควรใช้สีเป็น RGB เพราะมันจะให้ความสดใสมากกว่าสีแบบ CMYK ที่เหมาะกับงานพิมพ์

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล : Grappik