วิธีการออกแบบสื่อสิงพิมพ์
วิธีการออกแบบสื่อสิงพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่สามารถจับต้องได้ และมีความใกล้ชิดกับคนไทยมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์กลายเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ที่เห็นอย่างเกลื่อนกลาด และมีความใกล้ชิดกับผู้รับมากเช่นกัน จะได้เห็นกันบ่อยครั้งในส่วนของ โบชัวร์ แผ่นผับ โปสเตอร์ หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ใบบลิว และนามบัตร แม้จะถูกมองว่าล้าสมัยแต่ก็ยังคงมีผู้นำมาใช้งานกันจำนวนมาก เพราะมีต้นทุนที่ต่ำและเข้าถึงผู้รับได้ง่ายนั่นเอง แต่จะออกแบบอย่างไรให้โดนใจผู้รับ เราจึงมีวิธีการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ขึ้นพื้นฐานให้มือใหม่ได้ลองออกแบบกันค่ะ
การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบในหลาย ๆ ด้านนำมาประกอบเข้าด้วยกัน
1.การมีเอกภาพ
เป็นการนำองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ภาพประกอบ ข้อความโฆษณา การพาดหัว เครื่องหมายการค้า นำมาประกอบจัดวาง Layout ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ลงตัวมากที่สุด
2.ความกลมกลืน
ความกลืมในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์นั้น เป็นการกำหนดขอบเขตการทำงาน ให้สื่อความหมายไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีความขัดแย้งในชิ้นงาน ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งโดดเด่นกว่ากัน
3.ความต่อเนื่อง
อะไรที่เราทำแล้วมีความต่อเนื่อง นับว่าเป็นการเล่าเรื่องที่ดี การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ก็เช่นเดียวกัน ในที่นี้กล่าวถึงความต่อเนื่องในส่วนของการนำสายตา เชื่อมโยงจุดสังเกตของคนไปยังสิ่งที่เราต้องการจะสื่อ เช่น การใช้ภาพใหญ่ไปหาภาพเล็ก การใช้เส้นนำสายตา เพื่อให้เห็นจุดสำคัญของชิ้นงาน
4.การเน้น
เป็นการนำเสนอจุดที่เด่นที่สุด ทำให้เราสังเกตให้เห็นได้ง่ายมากขึ้น เช่น เน้นในส่วนของรูปภาพ หรือ จะเน้นในส่วนตัวตัวหนังสือ เป็นการเสริมให้เด่นกว่าส่วนอื่น เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาและง่ายต่อการจดจำ
5.ความแตกต่าง
จากข้อที่ 2 เราได้กล่าวถึงกรณีของความกลมกลืน เพื่อจะไม่ให้หลุดประเด็น แต่เราลองมาพูดในส่วนของการทำให้แตกต่างกันดูบ้างว่า แตกต่างอย่างไรถึงจะน่าสนใจ และไม่หลุดประเด็น เช่น แตกต่างในด้านของสีสัน รูปร่าง ทิศทาง ซึ่งในกรณีนี้หากจะแตกต่างต้องทำให้น่าจดจำด้วย จึงจะเป็นผลงานที่น่าสนใจ และผู้รับอยากที่นำมาอ่าน
6.ความสมดุล
อีกประการที่สำคัญ คือความสมดุลในงานที่ได้ออกแบบ เราต้องคำนึงถึงพื้นที่ว่าง ควรจัด Layout หน้ากระดาษให้มีน้ำหนักที่เท่ากัน ทั้งในด้านของสี ภาพ ตัวหนังสือ