อยากเป็นมืออาชีพต้องรู้ รวมสกุลไฟล์ที่นิยมใช้ในการออกแบบ
ในการออกแบบหากเป็นมืออาชีพที่อยู่ในวงการอยู่เเล้ว จะทราบข้อมูลต่างๆในส่วนของนามสกุลไฟล์ เป็นอย่างดี เนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเเต่สำหรับมือใหม่หรือผู้เริ่มต้นเเล้วอาจจะยังไม่ทราบหรือยังทราบไม่ครบทั้งหมด วันนี้เราจึงขอนำเสนอ สกุลไฟล์ที่นิยมใช้ในการออกแบบ จะเป็นอย่างไร เชิญศึกษากันได้เลย
1.ไฟล์ .JPG
เป็นไฟล์รูปภาพที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดี ไฟล์ .JPG นั้นเป็นไฟล์ที่เราสามารถนำไปใช้งานในเว็บไซต์ หรืองานพิมพ์พวกเอกสารต่าง ๆ ได้ แต่ไฟล์ชนิดนี้มีข้อจำกัดก็คือ ไม่สามารถขยายขนาดให้ใหญ่กว่าขนาดจริงได้ เพราะไฟล์ภาพจะแตก ยิ่งถ้าขยายขนาดใหญ่เกินมาตรฐานด้วยแล้ว แทบจะดูไม่ออกกันเลยทีเดียวค่ะ แต่ไฟล์นี้มีข้อดีก็คือมีขนาดไฟล์ที่เล็กนั่นเอง
2.ไฟล์ .PNG
เป็นอีกไฟล์รูปภาพอีกสกุลหนึ่งคล้ายกับไฟล์ JPG แต่ไฟล์ตระกูล PNG จะมีพื้นหลังที่โปร่งใส ไฟล์ชนิดนี้จึงเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการเน้นแค่ตัวโลโก้ จึงมักจะใช้กับงานออกแบบโลโก้ หรืองานที่ไม่ต้องการพื้นหลัง
3.ไฟล์ .PSD
ไฟล์ .PSD นั้นจะเป็นไฟล์ที่เซฟได้โดยตรงจากโปรแกรม Photoshop ข้อดีของไฟล์นี้ก็คือ เมื่อเปิดขึ้นมาแล้ว เราจะสามารถดูงานแต่ละชิ้นผ่านการแยก Layer ได้ทันที หากต้องมีการแก้ไข ก็สามารถเข้าไปเลือกแก้ไขจาก Layer นั้น ๆ ได้เลย แต่มีข้อเสียก็คือ ต้องกำหนดขนาดของตัวงานให้ถูกต้อง เพราะถ้ามีการปรับแก้ขนาดให้ใหญ่ขึ้นจากเดิม ภาพอาจจะแตกได้ค่ะ อีกทั้งไฟล์ .PSD เมื่อเซฟแล้วจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้เปลืองพื้นที่ไปบ้าง ไฟล์นี้เหมาะสำหรับงานออกแบบทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ออกแบบโลโก้ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และสามารถส่งโรงพิมพ์ได้ทันทีกับไฟล์ .Ai
4.ไฟล์ .Ai
ไฟล์ .Ai หรือไฟล์งานประเภท vector เป็นไฟล์ที่ได้จากโปรแกรม Illustrator ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานแล้ว เราจะสามารถปรับแต่งชิ้นงานได้ จะยืดหด หรือจะขยายในขนาดที่กว้างใหญ่แค่ไหนก็สามารถทำได้ โดยที่คุณภาพของไฟล์จะยังคงเดิมค่ะ พวกงานออกแบบโลโก้ นอกจากนี้ไฟล์ .Ai ยังสามารถใช้ส่งให้กับทางโรงพิมพ์หรือร้านทำป้ายต่าง ๆ ได้ทันทีอีกด้วย
5.ไฟล์ .EPS
สำหรับไฟล์ .EPS นี้ เป็นไฟล์ที่สะดวกและง่ายที่สุดในการส่งงานให้โรงพิมพ์หรือร้านทำป้ายต่าง ๆ เพราะว่าเมื่อเราทำการออกแบบด้วยโปรแกรม Illustrator แล้วเลือกเซฟเป็นไฟล์ .ESP เราก็จะสามารถเซฟทุกอย่างที่ใช้ภายในงานให้อยู่ในไฟล์นี้ไฟล์เดียวได้ แต่ด้วยความที่ไฟล์นี่มันเซฟทุกอย่างเอาไว้ จึงทำให้ขนาดไฟล์ของมันมีขนาดที่ใหญ่เอามาก ๆ ทำให้บางครั้ง การเซฟ หรือเปิดไฟล์ อาจใช้เวลาค่อนข้างนานกันเลยทีเดียว
ที่มา : graphicbuffet