อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ แตกต่างกันอย่างไร ?
อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ แตกต่างกันอย่างไร ?
คำว่าอัตลักษณ์และเอกลักษณ์มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งก็ทำให้หลายคนสับสนได้เลยว่า2 คำนี้มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร และจะสังเกตได้อย่างไรว่าตนมีอัตลกัษณ์เป็นเช่นไร
อัตลักษณ์ ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรมแต่อย่างใด แต่ก็มีตำราหลายเล่มได้ให้นิยามหรือความหมายคำว่าอัตลักษณ์ คือ คุณลักษณะเฉพาะตัว ที่บ่งบอกหรือมีความชี้ชัดของตัวบุคล สังคม ชุมชนหรือประเทศนั้น ๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ไม่มีทั่วไปและเป็นสากลกับสังคม อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อัตลักษณ์จะใช้ในวงแคบ ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้
มีการจัดแบ่งประเภทของอัตลักษณ์เป็น 2 ระดับคือระดับอัตลักษณ์ส่วนบุคคล (personal identity) และอัตลักษณ์ทางสังคม (social identity) ที่จะใช้แสดงตน เช่น การที่สังคมกำหนดบทบาทหน้าที่ และระบบคุณค่าที่ติดตัวมา ความเป็นพ่อ ความเป็นเพื่อนความเป็นสามีภรรยา เข็มโรงเรียน ภาษาหรือบางที่อาจเห็นได้จากเสื้อผ้าที่ใส่
เอกลักษณ์ ตามราชบัณฑิตยสถานนั้น หมายความว่าลักษณะที่เหมือนกันหรือร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วเอกลักษณ์มักจะถูกใช้งานมากกว่าคำว่าอัตลักษณ์ ซึ่งมีความเข้าใจง่าย และเอกลักษณ์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
เช่น รูปแบบของอัตลักษณ์ของแบรนด์ก็เช่นเดียวกัน เจ้าของธุรกิจหลายท่านที่คิดอัตลักษณ์ของแบรนด์สินค้าตนเองไมได่ หรือไม่มีความเฉียบคม ให้ตีตลาดได้ ก็ได้มาขอคำปรึกษา จากทีมงานของวินน์ซอฟต์ของเราได้ช่วยในการออกแบบ
ด้วยเหตุผลข้างตนจึงมีการให้แนวทางของคำว่า อัตลักษณ์ของแบรนด์ คือ แก่นของแบรนด์ (Core Identity) และส่วนขยายของแก่นแบรนด์ (Extended Identity) ทั้งสองส่วนนั้นเป็นองค์ประกอบร่วมกันที่ทำให้แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งมีคุณลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง
ตัวอย่างแบรนด์ของ Dtac
บริษัทที่มีแก่นของแบรนด์ ที่ชัดเจนหรืออยู่เหนือกาลเวลา ก็อาจจะเป็นแบรนด์ที่เราท่านอาจจะรู้จักกันดีก็คือ ดีแทค (dtac) นิยามของคำว่าแก่นของแบรนด์ dtac เป็นคำสั้นๆ ง่ายๆ คือคำว่า “คนดี” dtac มีความมุ่งมั่นและตั้งปณิธาณว่าเป็นคนดีตลอดไปแก่นของแบรนด์นั้นไม่ได้ถูกจำกัดหรือขีดขั้นด้วยชนิดหรือประเภทของสินค้า หรือช่วงเวลาใดเวลาเวลาหนึ่ง แต่แก่นของแบรนด์นั้นเป็นสิ่งที่ใครคนใดคนหนึ่งหรือแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งยึดมั่น ถือมั่นและใช้สิ่งนี้เป็นเหมือนเสาหลักในการดำเนินชีวิตในการสร้างแบรนด์ๆ นั้น
แหล่งที่มา : http://chotika51-thesis.blogspot.com/2011/07/blog-post.html