เทรนด์ E-commerce ในปี 2020 มีอะไรบ้าง?
1. การแข่งขันทางด้าน E-wallet
E-wallet หรือที่รู้จักกันดีว่ามันคือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าหลายๆ ธนาคารเริ่มมีการเปิดให้บริการ
E-wallet เพิ่มมากขึ้น โดยรูปแบบของ E-wallet มีดังนี้
-Pure Wallet รูปแบบนี้เกิดมาเพื่อเป็นวอลเล็ทโดยเฉพาะ เช่น True Money, Rabbit Line Pay,
AirPay เป็นต้น ซึ่งในปีนี้เป็นรูปแบบที่แข่งขันกันมากที่สุด
-E-commerce Wallet เป็นวอลเล็ทที่ธุรกิจ E-commerce มีอยู่แล้ว เช่น Lazada Wallet, Shopee, Grab Pay เป็นต้น
-Bank Wallet หรือ Mobile Banking เป็นกลุ่มที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีบัญชีธนาคารและธนาคารเหล่านั้นก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้สามารถใช้วอลเล็ทได้เหมือนกับรูปแบบอื่นๆ
-Mobile Device Wallet เช่น Samsung Pay, Fitbit Pay เป็นต้น
2. Marketplace เติบโตและมีกำไรมากขึ้น
จะเห็นได้ว่าในปีนี้ ธุรกิจที่เป็น Marketplace เริ่มทำกำไรให้เห็นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Lazada, Shopee และ JD.com ซึ่งจะเห็นได้ชัดจาก Shopee
ที่เห็นได้ชัดว่ามีการเก็บค่าบริการต่างๆ จากจุดนี้จึงเป็นจุดที่ทำให้ Marketplace สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ Marketplace ต่างๆ เริ่มมีการทำโปรโมชันและแคมเปญต่างๆ ให้ผู้ใช้บริการสามารถร่วมสนุกได้ตลอด
เช่นการมีโปรโมชัน 11.11 ซึ่งกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการจับจ่ายซื้อของผ่านแพลตฟอร์มของตัวเองมากขึ้นอีกด้วย
3. การต่อสู้ระหว่างบริษัทขนส่ง
E-commerce และบริษัทขนส่งเหมือนเป็นของคู่กัน หาก E-commerce เติบโต บริษัทขนส่งก็เติบโตตามไปด้วย บริษัทขนส่งในปัจจุบันมีการปรับบริการที่สามารถส่งของภายใน 1 วันหรือภายใน 1-2 ชั่วโมง
ซึ่งตรงนี้จะทำให้มีผู้บริการมากขึ้น เพราะนอกจากจะจับจ่ายได้อย่างสบายและยังได้รับของไวขึ้นและไม่ได้มีบริษัทขนส่งเพียงเจ้าเดียว
ในปีที่ผ่านมีบริษัทขนส่งเกิดขึ้นประมาณ 10 บริษัท แต่อันดับ 1 ก็ยังเป็นไปรษณีย์ไทย
4.Social Commerce ยังมาแรง
Social Commerce เป็นอะไรที่เติบโตมากที่สุดในปีที่ผ่านมา เพราะเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์ที่มากที่สุดมาจากช่องทางโซเชียลมีเดีย ธุรกิจเลือกช่องทางโซเชียลมีเดียในการยิงโฆษณาและหลังจากยิงไปนั้น
ยอดขายพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการ Live สดขายของ ที่นอกจากจะ Live ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียแล้ว ในแพลตฟอร์ม E-commerce อย่าง Lazada, Shopee ก็มีการ Live ขายของเช่นกัน
5.Omni-Channel เริ่มเห็นชัดขึ้น
การผนวกรวมกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ของธุรกิจก็เห็นได้ชัดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นสินค้าของ Apple
ที่สามารถสั่งออนไลน์และไปรับหน้าร้านได้หรือมีการเช็คสินค้าก่อนว่าหน้าร้านมีของไหม ถ้าไม่มีก็สามารถสั่งออนไลน์ให้มาส่งได้เช่นกัน
ที่มา : nextflow