ไม่มีพื้นฐานความรู้ แต่.. อยากเป็น Graphic Designer

ไม่มีพื้นฐานความรู้ แต่.. อยากเป็น Graphic Designer

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เวลาเห็นโปสเตอร์หนัง ปกอัลบั้มของศิลปิน หรือภาพประกอบในแม็กกาซีน แล้วรู้สึกคันไม้คันมืออยากลงมือทำอะไรกับมันสักอย่าง นั่นถือเป็นสัญญาณที่ยอดเยี่ยมสำหรับจุดเริ่มต้นสู่หนทางของ Graphic Designer ของคุณแล้ว

นักออกแบบ และศิลปินส่วนใหญ่ต่างก็เริ่มต้นจากความชื่นชอบส่วนตัวกันทั้งนั้น เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครเกิดมาปุ๊บ ก็สามารถเป็นดีไซเนอร์มือฉมังได้เลย ทุกคนต่างก็ต้องผ่านช่วงเวลาเหล่านี้กันมาทั้งนั้น จากความชอบ ฝึกฝนจนพัฒนากลายมาเป็น Graphic Designer ในที่สุด

สำหรับการเริ่มต้นของ Graphic Designer นั้นมีอะไรบ้างที่เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับวงการนี้ ไปดูกันเลย

Graphic Designer?
สำหรับงาน Graphic Design ในปัจจุบันก็ขยายขอบเขตกว้างขึ้นจากเดิมที่รองรับแต่สื่อที่เป็นภาพนิ่ง แต่ปัจจุบันก็ขยายมาสู่สื่อที่เคลื่อนไหวได้มากขึ้น เช่น Motion Graphic หรือ Web Interactive เป็นต้น
ส่วน Graphic Designer เราสามารถแบ่งแบบกว้างๆ ได้แก่ Artist และ Designer ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ผลงาน collaboration ของ Rukkit x Nike

1.Artist ก็คือกลุ่มคนที่ชื่นชอบการทำงานในแบบศิลปิน หรืออาจเรียกว่า Graphic Artist หรือ Visual Artist และ นักวาดภาพประกอบ (Illustrator) ซึ่งผลงานจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยอาจตอบสนองความรู้สึกของตัวเองในเชิงศิลปะ หรือการตอบโจทย์ทางธุรกิจก็ได้ โดยใช้สไตล์ และรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาในการตอบโจทย์ เช่น Illustration หรือ Character Design เป็นต้น

2.Designer ก็คือกลุ่มคนที่ชื่นชอบทำงานในรูปแบบของนักออกแบบ มุ่งตอบสนองต่อโจทย์ การใช้งานฟังก์ชั่นต่างๆ ทางธุรกิจรวมถึงงานเพื่อสังคมเป็นหลัก รูปแบบ และสไตล์จะเกิดจาก Brief งานลักษณะนี้ จะเน้นกระบวนการออกแบบ (Design Process) เพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving) ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ (Creative Solution) ตัวอย่างเช่น Corporate/Branding Identity หรือ Environmental Graphic ลำดับต่อมาสิ่งที่เราควรรู้ คือ ขอบเขตของงาน Graphic Design อาจแบ่งได้ออกเป็นหมวดต่างๆ ยิบย่อยลงไปอีก เช่น

-Corporate/Branding Identity 
-Visual Campaign
-Packaging Design
-Editorial Design
-Environmental Graphic
-UI/Interaction Design
-Motion Graphics Design

3.Adobe Creative Cloud
รู้จักประเภทของงานไปแบบคร่าวๆ กันแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเริ่มต้นทำความรู้จักกับเครื่องมือที่เหล่า Graphic Designer ใช้เพื่อเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ในหัว หรือสิ่งที่สเก็ตในกระดาษให้ออกมาเป็นรูปธรรม และให้อยู่ในรูปแบบ Digital Media เพื่อสามารถนำมาต่อยอดเพื่อใช้สำหรับ Platform ต่างๆ แน่นอนว่าเครื่องมือสุดฮิตของเหล่า Graphic Designer ทั่วโลกก็คือโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบของ Adobe หรือ Adobe Creative Cloud


จากทั้งหมดข้างต้น เราอาจจะพอเห็นภาพรวมของผลงานด้าน GraphicsDesign บ้างในระดับหนึ่ง แต่เบื้องหลังการสร้างผลงานเหล่านี้ กลุ่มศิลปิน นักออกแบบ หรือนักสร้างสรรค์ผลงาน Graphic Design ที่ยอดเยี่ยมนั้น ส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตแทบไม่ต่างกับนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้ความทุ่มเทแรงกาย แรงใจ และเวลา เพื่อการเรียนรู้ ทดลอง ทำซํ้าๆ จนกว่าจะได้ผลงานอันเป็นที่น่าพอใจ